ภาษาไทย
Studio Chiangdao Blue

Studio Chiangdao Blue

เมนู

Siripohn's Insights (Blog)

13 Sep 2024

ให้งานcrafts ช่วยให้ผู้สูงอายุของคุณรู้สึกได้ถึงอิคิไง (ikigai)ในทุกๆกันกันเถอะ

เมื่อ 7 ปีที่แล้วฉันพาแม่ย้ายออกจากในตัวเมืองเชียงใหม่ มาฉันอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆในชนบทของอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ปีนี้แม่อายุ 90 ปีแล้ว แม่เป็นโรคกระดูกทำให้เดินเองไม่ค่อยได้ ต้องมีคนช่วยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากโรคกระดูก แม่ของฉันแข็งแรงเพราะไม่มีโรคความดันหรือเบาหวาน แม่เป็นคนกระฉับกระเฉง ความจำดีและมีนิสัยชอบหาอะไรทำตลอดเวลา เพราะถ้าอยู่เฉยๆ แม่จะฟุ้งซ่านและอารมณ์ไม่ดี แต่ถ้าแม่มีอะไรที่focus ได้ แม่จะสามารถจดจ่ออยู่กับกิจกรรมนั้นๆได้นานเป็น 2~3 ชั่วโมง

เนื่องจากฉันทำงานย้อมผ้าครามธรรมชาติ เมื่อ4~5 ปีก่อน จึงเริ่มลองให้แม่ทำกิจกรรมมัดย้อมผ้า bandana หรือ Furoshiki ในภาษาญี่ปุ่น ขนาดประมาณ 70x70 cm. เพื่อใช้สำหรับเป็น packaging ห่อเสื้อผ้าที่ลูกค้าของเราซื้อ จะได้ช่วยลดปริมาณขยะประเภทถุงใส่ของ และผ้านี้ลูกค้าสามารถเอาไปใช้ต่อได้

ตอนแรกๆ ฉันแนะนำเทคนิค shibori ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำลวดลายผ้าในสไตล์ญี่ปุ่น

แม่สามารถสนุกกับกิจกรรมมัดย้อม shibori ได้ไม่ยาก และสิ่งที่สำคัญที่แม่รู้สึก Wow! อย่างตื่นเต้นและมีความสุขคือ ขั้นตอนการแกะผ้าหลังจากย้อมเสร็จเพื่อดูลวดลายที่ตัวเองทำ สีหน้า รอยยิ้มและเสียงหัวเราะในแต่ละครั้งที่แม่แกะผ้า คือ magic moment ที่รู้สึกได้ว่า นั่นคือ sense of fulfillment ของแม่ในทุกๆครั้งที่ทำงานกับผ้า

ในระหว่าง 4~5 ปีที่แม่ทำมัดย้อมshibori เป็นงานอดิเรกมาเรื่อยๆ วันละ 1 ผืน บางวันก็ 2~3 ผืน หรือบางวันไม่ทำแล้วแต่อารมณ์ของแม่ สื่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อแม่เข้าใจว่าลวดลายบนผ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร แม่จะเริ่ม create ลวดลายใหม่ด้วยจินตนาการของตนเอง และเริ่มรู้ว่าต้องบิดผ้ายังไง ต้องรัดผ้าด้วยยางรัดของ ให้หลวมหรือแน่นแค่ไหนเพื่อให้ได้ลวดลายที่ต้องการ

จากประสบการณ์จริงที่ได้เห็นแม่ทำกิจกรรมมัดย้อมมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฉันรู้สึกประทับใจว่า กิจกรรมมัดย้อม shibori ช่วยให้แม่ของฉันมีสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่านคิดมาก และช่วยให้แม่รู้สึกได้ถึงอิคิไง (ikigai) ของตัวเองในทุกๆวัน

อยากแชร์ประสบการณ์นี้เพื่อเป็นข้อมูลทางเลือกให้ลูกๆที่ต้องดูแลพ่อแม่สูงวัย หรือหลานๆที่ต้องช่วยดูแลปู่ย่าตายาย หากิจกรรมที่เป็นงานทำมือง่ายๆ ที่ผู้สูงวัยสนใจ หรือพอมีทักษะอยู่บ้าง ให้ท่านได้สนุกและได้รู้สึกถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่ในทุกๆวัน

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
11 Sep 2024

Homegrown indigo paste

รูปโชว์ขั้นตอนการกรองด้วยผ้ากรองเนื้อละเอียด เพื่อเก็บ blue pigment ในสภาพของ indigo paste 

(ในรูปคือ indigo paste ที่สกัดจากใบครามพันธุ์ indigofera tinctoria)

ปกติเราใช้ indigo paste ทำ indigo dye pot โดยผสมกับน้ำด่างจาก limestone powder และน้ำมะขามเปรี้ยวในฐานะที่เป็น reducer ส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด คือ indigo paste น้ำด่างและน้ำมะขามในอุณหภูมิที่เหมาะสม จะทำให้เกิดปฎิกริยา reduction เปลี่ยนสภาพของครามสีน้ำเงินที่เป็นของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ ให้อยู่ในรูปที่สามารถละลายน้ำได้ในสภาพของเหลวสีเหลิอง

เมื่อจุ่มผ้าในน้ำย้อมสีเหลือง และเอาผ้าที่ย้อมออกจากหม้อย้อม สีเหลิองจะจับกับอ๊อกซิเจนในอากาศแล้วเปลี่ยนกลับคืนเป็นสีน้ำเงินซึ่งเป็นของแข็งที่ไม่ละลายน้ำในสภาพดั้งเดิมอีกครั้ง ในตอนนี้สีครามที่oxidise แล้ว จะถูกกักขังอยู่ภายในโครงสร้างของเส้นใยผ้า ซึ่งกระบวนการเหล่านี้คือ การย้อมผ้าด้วยสีคราม ความจริงแล้วสีครามมีคุณสมบัติติดสีได้ในระดับ "ดี" ในเส้นใยธรรมชาติประเภทเส้นใยcellulose เราจึงยังเห็นผ้าย้อมครามในสมัยโบราณเมื่อกว่า 1000 ปีที่แล้ว ที่ยังเห็นเป็นสีครามอยู่ จนถึงปัจจุบัน จุดอ่อนของผ้าย้อมครามคืออ่อนแอต่อการขัดสี สีครามจะถลอกได้เมื่อถูกขัดสีบ่อยๆ แต่ไม่น่าเชื่อว่าสีครามธรรมชาตินั้น แม้สีจะถลอกเพราะถูกขัดสี ก็จะดูสวยไปอีกแบบในแนว vintage blue คุณสมบัตินี้คือความพิเศษของสีครามจากธรรมชาติที่สีครามเคมีไม่สามารถเลียนแบบได้ 

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
10 Sep 2024

Painting with natural blue from plants

แม่สีน้ำเงินที่สกัดจากธรรมชาติ นอกจากหิน เช่น lapis lasuri ก็จะมีสีครามที่สกัดจากใบของต้นคราม ถือเป็นแหล่งสีน้ำเงินที่ได้จากต้นไม้ที่น่าสนใจมาก เพราะมีต้นไม้น้อยมากๆที่ให้สีน้ำเงิน วัฒนธรรมการย้อมครามธรรมชาตินั้นเป็นเสมือนของขวัญจากพระเจ้าที่มอบให้แก่ชาวโลกในทุกๆทวีป ไม่ว่าจะเป็นเอเซีย ยุโรป อาฟริกาหรืออเมริกาใต้ แต่ละภูมิภาคก็มีทักษะการย้อมครามที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นในการทำหม้อครามให้พร้อมสำหรับการย้อมผ้า สำหรับประเทศไทย ที่ Studio Chiangdao Blue เราปลูกคราม 4 ชนิดคือ indigofera tinctoria indigofera suffruticosa strobilanthes cusia (assam indigo)และ persicaria tinctoria (Japanese indigo) เพื่อสกัดสีครามจากใบคราม 

สำหรับใช้กับงานย้อมผ้าครามของเราเอง จุดประสงค์หลักที่เราใช้ concept "from seed to dye" เพราะต้องการทำ indigo paste ที่มีเปอร์เซ็นต์ของ blue pigment ที่สูงเท่าที่เราต้องการ และเราสามารถควบคุมคุณภาพของเนื้อครามด้วยการกรองด้วยผ้ากรองที่มีความละเอียดสูง เพื่อให้ได้เนื้อครามที่เนียน ละเอียดดีพอจนสามารถใช้ indigo paste กัยงาน painting บนกระดาษหรือบนผ้าได้ด้วย ลูกค้าที่มาทำ indigo dye workshops กับเรา และถ้าเรารู้ว่าลูกค้าชอบการ paint เราก็มักจะชวนให้ลูกค้า paint ด้วย homegrown indigo paste บนการดาษวาดรูปสีน้ำด้วย 

*รูปที่โชว์ คือผลงานของลูกค้าหญิงสองพี่น้องชาวอิสราเอล ทั้งสองคน paint ด้วยกันทำผลงานชิ้นนี้ด้วยกัน มันช่างสวยงามและน่าอัศจรรย์มาก 

หากคุณสนใจอยาก paint ด้วย indigo paste มาหาเราได้ เรายินดีต้อนรับค่ะ 

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
5 Apr 2024

คำตอบและความเป็นไปได้ใหม่ๆส่วนหนึ่งอยู่ที่ภูมิปัญญาดั้งเดิม (local wisdom)

จากการที่ฉันได้มีโอกาสทำงาน project ระยะสั้นมาหลายปี เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้ร่วมทำงานกับช่างฝีมือท้องถิ่น นักศึกษาที่เรียนด้านการออกแบบ และนักออกแบบมืออาชีพทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่น ในแต่ละปีฉันได้เดินทางแบบ field trip ไปหลากหลายหมู่บ้านในหลายๆจังหวัด มีทั้งหมู่บ้านของคนท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนภูเขา (hill tribes) ทำให้มีโอกาสได้สัมผัสงานหัตถกรรมท้องถิ่นจากหลากหลายวัฒนธรรมย่อย (sub local cultures) ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติหลากหลายชนิด ทั้ง เส้นใย ผืนผ้า กระดาษ ไม้ไผ่ เซรามิคส์และอื่นๆ ทุกครั้งที่ได้ไป field trip จะรู้สึกทึ่งและชื่นชมในทักษะ ฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานมาจากการใช้ชีวิตและคุ้นเคยกับวัสดุธรรมชาติรอบๆตัว หลายๆทักษะที่เห็นจากช่างฝีมือชาติพันธุ์นั้นช่างเรียบง่ายแต่ใช้ประโยชน์ได้จริงโดยที่ไม่สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อม และไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมืออะไรที่ซับซ้อนเลย

มันเป็นภาพสะท้อนที่ทำให้คิดได้ว่า บางครั้งเทคนิคและฝีมือที่สั่งสมกันมาหลายชั่วคน ส่วนหนึ่งคือการรู้จักและเข้าใจในคุณสมบัติและจุดอ่อนจุดแข็งของวัสดุที่เราใช้อยู่ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูก และความสามารถในการสังเกตุ วิเคราะห์และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้น่าจะเป็นความสามารถดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วในมนุษย์ทุกคน

บางครั้งความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากจนเกินไป ในโลกที่มีทุกสิ่งทุกอย่างรอให้ซื้อมาด้วยเงิน อาจบั่นทอนศักยภาพดั้งเดิมเหล่านี้ในคนยุคนี้ก็เป็นได้

การที่จะได้มีโอกาสกลับมาเปิดสวิชท์ศักยภาพดั้งเดิมในตัวของเรา เป็นอะไรที่น่าสนใจ สนุกและท้าทาย เพราะความสามารถดั้งเดิมเหล่านี้ สามารถเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่อง "ความหมายและคุณค่า" ในการใช้ชีวิต

ในระยะหลัง เรามักจะได้ยินผู้คนพูดถึง แนวความคิดของญี่ปุ่นเรื่อง "Iki-gai" และพยายามที่จะเข้าใจ "ความหมายของการมีชีวิตอยู่" โดยส่วนตัวฉันคิดว่าความเข้าใจจากการอ่านเรื่องเหล่านี้ในหนังสือนั้นก็ดี และจะดียิ่งขึ้นถ้าเราสามารถเข้าใจ "Iki-gai" ได้จากความรู้สึกผ่านการทำกิจกรรมเล็กๆ ที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำสวน ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ทำงานศิลปะ หรืองานเย็บปักถักร้อยต่างๆ พราะในการทำกิจกรรมจะมีกระบวนการทำงาน (process) ที่เราสามารถมีประสบการณ์ตรงกับ process ได้อย่างมีสมาธิ ได้ใช้ตา หู และสองมือของเราไปพร้อมๆกับความคิดสร้างสรรค์ ในหลายๆครั้ง เราจะสนุกกับ process จนรู้สึกว่าได้ค้นพบช่วงเวลาแห่งความสุขและความหมายของการใช้ชีวิตผ่านโมเม้นท์เล็กๆ เหล่านี้

การพาตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมเดิมๆ ที่คุ้นเคย มาหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ มาใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เราเลือกเอง อาจทำให้เราได้ค้นพบความเป็นไปได้และศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา อาจจะเป็นศักยภาพที่เป็นคำตอบสำหรับคำถามเกี่ยวกับชีวิต ที่เราชอบถามตัวเองบ่อยๆ ก็เป็นได้

27 Mar 2024

พร้อมที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ creative travelling ด้วยกันกับคุณในกิจกรรมแบบ private workshops "from seed to dye, natural indigo

ท่องเที่ยวในเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ ได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เชื่อมโยงกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด

ฉันเริ่มสนใจแนวคิด Creative tourism ส่วนหนึ่งจากการอ่านบทความ "Introducing Creative Tourism: what is it & why is it valuable for community empowerment" เขียนโดย Viktoria Petrova

ฉันสะดุดใจกับคำสอนของขงจื๊อที่ผู้เขียนยกขึ้นมาก่อนเข้าสู่เนื้อหาของบทความ ....

"I hear and I forget, I see and I remember, I do and I understand"

Confucius

ในฐานะที่ฉันเป็น indigo farmer & natural dyer ที่เพิ่งย้ายจากในตัวเมืองเชียงใหม่ มาอาศัยอยู่ในชนบทของอำเภอเชียงดาว ได้เพียง 5-6 ปี ฉันจึงยังจดจำความรู้สึกที่ทั้งตื่นเต้นและท้าทายกับ lifestyle แบบสังคมชนบท สังคมเกษตรกรรม ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ทุกอย่างรอบตัวดูสดใหม่ แปลกหูแปลกตาไปหมด การได้เห็นต้นไม้ ดอกไม้ ธรรมชาติรอบตัวอย่างใกล้ชิด การได้ยินเสียงของลม เสียงนกและแมลงต่างๆ ร้อง การได้เห็นทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในทุกๆวัน ทำให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวและจังหวะของชีวิต ผ่านสิ่งแวดล้อมรอบตัว เหมือนเป็นการปลุก 5 sensory ของตัวเองให้กลับมา active มากขึ้น การที่สามารถสังเกตุสิ่งต่างๆรอบตัวได้ในจังหวะที่ช้าลง ทำให้เริ่มมองเห็นความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และมองเห็นความเป็นไปได้และศักยภาพอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ

ในตอนแรกที่เริ่มทำ studio เพื่อย้อมผ้าด้วยครามและสีธรรมชาติจากส่วนต่างๆของต้นไม้ ยังไม่เคยคิดว่าจะปลูกต้นครามเอง แต่พอมาอยู่ และได้ลงมือทำ จึงเกิดความเข้าใจและมองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆ ตามมาอีกหลายอย่าง การใช้ชีวิตในแต่ละวันมีความหมายและมีคุณค่ามาก รู้สึกสนุกกับการบริหารเวลาในแต่ละวัน ตั้งใจจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของงานในแต่ละวัน เพราะพบว่ามีกิจกรรมที่น่าสนใจและอยากทำเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการสังเกตุเห็นวัตถุดิบหลากหลายที่มีอยู่ในธรามชาติรอบตัว และวัตถุดิบจากธรรมชาติเหล่านั้นจุดประกายให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้เราอยากเรียนรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

รู้สึกเซลล์สมองและเซลล์ต่างๆในร่างกายตื่นตัวเหมือนเต้นระบำอยู่ตลอดเวลา

มันช่างแตกต่างกับตอนที่ใช้ชีวิตในเมือง ที่พออยู่อย่างนั้นนานหลายปี ทำให้รู้สึกเคยชิน รู้สึกเบื่อ และหลายครั้งรู้สึกขี้เกียจ ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา

5-6 ปีที่อยู่ที่เชียงดาว รู้สึกสนุกและท้าทาย แต่ก็มีความสุขสงบภายในใจไปด้วยพร้อมๆกัน เข้าใจมากขึ้นถึงคำว่า "ความหมายและคุณค่าของชีวิต" ในมุมมองที่แตกต่างจากเดิม

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จากการทำ workshops ย้อมครามธรรมชาติ ได้รู้จักและทำกิจกรรมร่วมกับผู้คนจากหลากหลายประเทศ ที่เดินทางมาหาประสบการณ์เรื่องการย้อมครามที่ studio Chiangdao Blue ฉันจึงได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนจากหลายประเทศ ทั้งชายและหญิง ในวัยต่างๆตั้งแต่เด็กๆจนถึงผู้สูงอายุในวัย 70 ปี ได้เห็นพวกเขาสนุก ตื่นเต้น มีความสุข และความภาคภูมิใจในผลงาน handmade ที่ทำด้วยตัวเอง มีทั้งทำให้ตัวเองใช้เอง และทำเพื่อเป็นของขวัญให้คนที่รัก มันช่างเป็นประสบการณ์ที่พิเศษที่น่าจดจำจริงๆ และสำหรับผู้รับก็เช่นกัน เช่น ถ้าลูกทำให้แม่ หรือภรรยาทำให้สามี

ก็แน่นอนว่า ของขวัญ handmade ชิ้นนี้ จะมีคุณค่าพิเศษทางใจต่อผู้รับอย่างแน่นอน

ฉันเชื่อว่า แนวคิด creative tourism สามารถตอบโจทย์การท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ในเชิงลึก เน้นกลุ่มเล็กๆแบบส่วนตัว เพื่อให้ผู้คนใช้เวลาสร้างประสบการณ์พิเศษที่ได้ทั้งการเรียนรู้ ได้ทักษะในเชิง local crafts และได้เชื่อมโยงกับผู้คนรวมถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นด้วย

"..... I see and I remember, I do and I understand"

Studio Chiangdao Blue พร้อมที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ creative travelling ด้วยกันกับคุณในกิจกรรมแบบ private workshops "from seed to dye, natural indigo dye"

24 Mar 2024

ปล่อยให้หญิงสาวได้สนุกกับจินตนาการและสีครามของเธอกันเถอะ

เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา Studio Chiangdao Blue ได้ต้อนรับคุณตาและหลานสาวจาก USA ฉันรู้สึกดีใจที่ studio ของเราเป็นสถานที่ ที่เพื่อนฝูง คู่รัก เด็กๆ นักออกแบบ และครอบครัว สามารถมาใช้เวลาด้วยกัน มาหาประสบการณ์ใหม่ ได้เรียนรู้ และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ได้สนุกกับงาน handmade และได้สัมผัสกับเสน่ห์ของสีครามจากธรรมชาติ

วันนี้ก็เป็นโอกาสพิเศษอีกวันหนึ่ง ที่ทั้งคุณตาและหลานสาววัยมัธยมปลาย ได้ใช้เวลาทำงาน crafts ด้วยกันในบรรยากาศส่วนตัว

หลังจากฉันได้แนะนำต้นคราม เมล็ดครามและเรื่องการย้อมครามเสร็จแล้ว จึงเริ่มแนะนำเทคนิคการทำลวดลายบนผ้า ทั้งคู่จะเลือกที่จะย้อมผ้า bandana และ big scarf เด็กสาวของเราพูดน้อยแต่ดูสนใจมาก ผ้า bandana ผืนแรก เธอก็ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานเกือบทุกเทคนิคของ shibori บนผ้าผืนเล็กๆ ผืนเดียว เธอทำออกมาได้สวยงาม สมดุลย์และ creative มาก หลังจากทานข้าวกลางวัน เธอก็เริ่มลงมือทำผ้าพันคอผืนใหญ่ที่ดูเหมือนว่า เธอมี image ของลวดลายผ้า และเทคนิคที่จะใช้ไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับผืนที่ 2 นี้ เห็นได้ชัดว่าเธอรู้สึกคล่องแคล่ว ผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นตัวของตัวเอง และเริ่มประยุกต์ใช้เทคนิคการทำลวดลายในสไตลฺของเธอเองอย่างมีสมาธิมาก คุณตาบอกว่าหลานสาวชอบทำงาน handmade มาตั้งแต่เด็กๆ เธอทำเครื่องประดับเอง และบางครั้งก็ตัดเสื้อผ้าใส่เองด้วย ฉันจึงไม่แปลกใจเลย ที่เธอดูมีสมาธิและจมดิ่งอยู่ในโลกของเธอจริงๆ จนฉันพูดล้อเล่นกับคุณตาของเธอว่า เธอสนุกอยู่ในโลกของเธอแล้ว เธอสนุกกับการทำลสดลายบนผ้าด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้ลวดลายตามที่เธอจินตนาการไว้ และก็เป็นอย่างที่ฉันคาดคิด ผลงานของเธอมีเอกลักษณ์ที่จะไม่เหมือนใคร เป็นผลงานชิ้นเดียวในโลกจริงๆ คุณตาดูมีความสุขมากที่สามารถจัดกิจกรรมที่หลานสาวชอบแลพสนุกที่จะทำ

ฉันรู้สึกประทับใจในความเป็นสมาธิ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการประยุกต์เทคนิคที่เพิ่งเรียนรู้มาใช้กับชิ้นงานของเธอได้ทันทีและอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ตระหนักมากขึ้นว่า เด็กหรือเยาวชนทุกคนมีศักยภาพ ความสนใจ และความถนัดอยู่ตัวของแต่ละคนอยู่แล้ว

ถ้าเขาหรือเธอได้ค้นพบและได้มีโอกาสฝึกฝนอย่างจริงจัง พวกเขาจะสามารถเปล่งประกายพลังความสามารถออกมาได้อย่างที่ผู้ใหญ่อย่างเราคิดไม่ถึงเลย

ขอบคุณคุณตาผู้น่ารักและหญิงสาวคนเก่งของเรา ที่มาเปล่งประกายโชว์พลังความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ให้พวกเราได้เห็นที่นี่ ที่เชียงดาว

23 Mar 2024

Let’s Upcycle our beloved pieces

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา studio Chiangdao Blue ชวนเพื่อนรุ่นน้องที่ชอบแนวคิดแบบ eco friendly มาย้อมเสื้อผ้าเก่าตัวที่อาจจะสีซีดจางแล้ว หรือเป็นเสื้อผ้าที่มีรอยเลอะเปรอะเปื้อนซึ่งอาจจะต้องทิ้งไป ทั้งๆที่ยังชอบเสื้อพวกนี้อยู่

ฉันชวนให้เพื่อนรุ่นน้องเลือกเสื้อผ้าสีขาวหรือสีอ่อนๆ ที่เป็นเส้นใยธรรมชาติจากพืช เช่น ฝ้าย ลินิน หรือเรยอน เสื้อตัวที่ยังชอบ นำมาทำลวดลายต่างๆ ตามใจชอบ และย้อมด้วยสีครามธรรมชาติ

การย้อมเสื้อผ้าซึ่งเป็น 3 มิตินั้น จะยากกว่าการย้อมผ้าผืนที่เป็น 2 มิติ ดังนั้น ก่อนทำการย้อมเสื้อ เราจะได้สนุกกับการคิดหารูปแบบและลวดลายที่น่าจะเข้ากันได้ดีกับแบบเสื้อแต่ละตัว และต้องคิดเผื่อไปถึงการย้อมด้วย ว่าจะสามารถย้อมได้สีครามที่สม่ำเสมอสวยงามอย่างที่ต้องการ

ขั้นตอนการคิดและทำลวดลายให้เสื้อแต่ละตัวจึงสนุกและท้าทายว่า จะสามารถเลือกเทคนิคการทำลวดลายที่เรียบง่ายและเหมาะสม และย้อมได้สวยใกล้เคียงกับที่ตัวเองคิดไว้ได้มากน้อยขนาดไหน

หลังจากฉันอธิบายเรื่องราวของต้นคราม เมล็ดครามและกระบวนการสกัดสีครามและย้อมครามให้ทุกคนได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้น เราจึงเริ่มทำกิจกรรมหลักคือการย้อมคราม แต่เนื่องจากหลายคนยังไม่เคยย้อมผ้าด้วยครามมาก่อน เราจึงเริ่มด้วยการย้อมผ้าผืนเล็ก bandana เป็นการ warm up กันก่อน ด้วยเทคนิค Ita-jime. และ shibori แบบง่ายๆ จากนั้นจึงขยับไปย้อมเสื้อผ้า ในครั้งนี้มีทั้งเสื้อยืดเก่า เสื้อเชิ๊ตแขนยาว เสื้อแขนกุด กระเป๋าผ้า และอื่นๆ หลังจากฉันแนะนำการทำลวดลายเสื้อเพิ่มเติม ทุกคนก็เริ่มจินตนาการว่าเสื้อแต่ละตัวที่เอามาย้อม น่าจะออกมาเป็นเสื้อใหม่ในแบบไหนดี

เราใช้เวลาในการย้อม Upcycle เสื้อผ้าเก่า นานประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ก็สามารถย้อมเสื้อเก่าได้คนละ 2 ตัวและผ้า bandanna คนละ 1 ผืน พร้อมทั้งได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในการมีส่วนร่วมเพิ่มคุณค่าให้เสื้อผ้าเก่าของตัวเอง ด้วยความคิดสร้างสรรค์และด้วยมือทั้งสองของตัวเอง

ฉันเชื่อว่าแต่ละคนน่าจะมีความทรงจำที่น่าประทับใจกับเสื้อแต่ละตัวที่นำมา Upcycle ในวันนั้นกันแน่นอน

การที่เราสามารถมีประสบการณ์ร่วมในการผลิตของที่เราใช้เอง เป็นเรื่องที่ท้าทายและน่าสนใจ เพราะจากจุดนั้นจะเปิดโอกาสให้เราเริ่มมีอิสระที่จะเลือก และได้รับรู้กระบวนการผลิตของชิ้นที่เราจะเป็นผู้ใช้ ด้วยประสบการณ์ตรงจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเราเอง

จากประสบการณ์ตรงเล็กๆในครั้งนี้ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราตั้งคำถามบางคำถามในประเด็น

ของ “สิ่งของ”VS ”คุณภาพชีวิต“ จากมุมมองของฉันเอง ฉันคิดว่า การใช้ชีวิตจะสนุกและท้าทายมากกว่าถ้าตัวเราได้มีส่วนร่วมในการคิด การออกแบบและการได้ลงมือทำในบางกระบวนการของการผลิตสิ่งของ บางครั้งการที่ตัวเองได้เป็นแค่สถานะ ”ผู้ใช้ของ“ ก็ดูน่าเบื่อและดูเหมือนต้องยึดติดกับการซื้อของที่ต้องใช้เงินแลกเปลี่ยน ในบางกรณีเราสามารถใช้ระบบ”ของแลกของ” barter system ในชีวิตประจำวันได้ วิธีการนี้ดูสร้างสรรค์ เป็นมิตร และมีเสน่ห์ในแง่ของการผูกพันและพึ่งพากันของผู้คน

ขอบคุณเพื่อนรุ่นน้องที่มาสนุกกับกิจกรรมนำร่องเล็กๆ ใน concept “Upcycle” ในครั้งนี้

และอยากให้กิจกรรมแบบนี้แพร่หลายในหมู่คนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น เพราะอย่างน้อยเราก็สามารถเป็นคนหนึ่งที่จะไม่เพิ่มปริมาณขยะของเสื้อผ้าเก่า ที่กำลังเป็นปัญหาในการกำจัดอยู่ในขณะนี้

22 Mar 2024

มุมมองใหม่ๆ พร้อมด้วยโอกาสใหม่ๆ จาก PaMéla\ Senior marketer จาก Ohio/USA

เมื่อบ่ายของวันเสาร์ที่ผ่านมา  studio Chiangdao Blue ได้ต้อนรับ PaMéla เธอมาเชียงดาวเป็นครั้งแรก และการย้อมผ้าด้วยครามธรรมชาติก็เป็นประสบการณ์ครั้งแรกของเธอเช่นกัน

เธอดูเป็นกันเองมาก ยิ้มแย้มเหมือนคนไทย ทำให้การพูดคุยตั้งแต่แรกของเราเป็นไปอย่างสบายๆและเป็นกันเอง เราเริ่ม workshops ด้วย concept ประจำของเราคือ From seed to dye เราคุยเรื่องเมล็ดของต้นครามชนิดต่างๆ การสกัดสีครามจากใบสด การก่อหม้อคราม(making indigo dye pot) แล้วจึงมาทำลวดลายผ้าก่อนย้อมคราม แม้จะเป็นการย้อมผ้าครามครั้งแรก แต่ PaMéla สนใจและตั้งใจมาก เธอพยายามลองทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เมื่อเธอหาลวดลายผ้าที่ชอบ และเราแนะนำพร้อมกับแสดงวิธีทำลวดลายนั้นๆ เธอก็ตั้งใจทำ และย้อมผ้าพันคอผืนใหญ่ได้อย่างสวยงามและลงตัว หลังจากจบ workshops เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันหลายเรื่อง ทัศนคติการใช้ชีวิต ทำไมจึงสนใจเรื่องย้อมคราม PaMéla เป็นนักการตลาดที่มีวิสัยทัศน์มาก ตอนนี้เธอสนใจและทำกิจกรรมเรื่องการสอนทั้งภาษาอังกฤษ และเรื่องการตลาดที่เธอถนัดให้แก่นักศึกษาไทยที่เชียงใหม่

วันนี้หลังจากPaMéla ได้มีประสบการณ์ย้อมครามกับเราเพียง 3 ชั่วโมง เธอก็เริ่มมีความคิดว่าเรื่องราวของครามธรรมชาตินี้ ก็น่าจะสามารถนำไปต่อยอดออกแบบในเชิงการเรียนการสอนทั้งด้านภาษาอังกฤษและการตลาดได้ และเราทั้งสองก็ได้มีโอกาสพูดคุยกันเพิ่มเติมในวันรุ่งขึ้นก่อนที่เธอเดินทางกลับเชียงใหม่ เธอถามว่าฉันสนใจนำเสนอเรื่องการย้อมครามในแง่มุมของการเรียนรู้ไหม

ซึ่งฉันก็ตอบในทันทีว่าฉันสนใจ เพราะตัวเองก็มีมุมมองเรื่องของการย้อมครามที่นอกเหนือจากในประเด็นของผ้าหรือเสื้อผ้า ฉันเชื่อว่าเรื่องราวของครามธรรมชาติใน concept “from seed to dye” นี้ น่าจะเปิดโอกาสใหม่ๆให้แก่ผู้บริโภคได้

ถ้าศึกษาคุณสมบัติของครามธรรมชาติอย่างละเอียดจะซาบซึ้งในคุณสมบัติทางยาสมุนไพรของใบครามที่ คนไทยโบราณเคยใช้เป็นยาลดไข้ แก้พิษแมลงต่อย ในขณะที่คนญี่ปุ่นก็ใช้ผ้าย้อมครามทำเป็นชุดทำงาน (work wear) ของทั้งเกษตรกรและช่างฝีมือ เพราะรู้ว่าครามธรรมชาติมีคุณสมบัติที่ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ ในสมัยก่อนคนญี่ปุ่นยังนิยมใช้ผ้าย้อมครามธรรมชาติสีน้ำเงินเข้ม เพื่อห่อตัวเด็กแรกเกิด คุณค่าของครามธรรมชาติที่เป็นความรู้ในแง่ของภูมิปัญญาโบราณ ผ่านการปฎิบัติจริงมาในอดีตอย่างยาวนาน เป็นคุณค่าที่ควรนำกลับมาใช้ใหม่แม้จะเป็นในยุคดิจิตัลอย่างนี้ บางครั้งการย้อนกลับมาใช้ชีวิตในรูปแบบ back to origin ก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจ เกิดความอบอุ่นในใจ และตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยให้เรารู้สึกผูกพันและอยากดูแลโลกและสิ่งแวดล้อมให้สวยงามและยั่งยืนตลอดไป 

ขอบคุณ PaMéla มาก ที่ช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ช่วยให้ฉันได้เห็นความเป็นไปได้และศักยภาพใหม่ๆ ในเรื่องราวของครามธรรมชาติที่ฉันสัมผัสอยู่ทุกวัน

20 Mar 2024

Deep indigo blue journey กับสาวสวยจากประเทศโคลัมเบียอเมริกาใต้ @julicanita

เมื่อสองอาทิตย์ที่ผ่านมา มีข้อความส่งมาถึงฉันผ่านทางinstragram

เป็นข้อความที่บอกถึงความต้องการของผู้ส่งอย่างชัดเจนว่า สนใจอะไร อยากเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องของการผ้าด้วยสีจากธรรมชาติ

เมื่ออ่านข้อความนั้น ฉันรู้สึกได้ถึงความกระตือรือล้น อยากเรียนรู้ของผู้ส่งข้อความ เราทั้งสองจึงโต้ตอบข้อความกันอีกเพียงไม่กี่ครั้ง หลังจากนั้นไม่กี่วัน Juli ก็เดินทางมาหาฉันที่เชียงดาว โดยรถบัสประจำทาง เธอมาพร้อมกับกระเป๋าสัมภาระหลายใบทั้งใบใหญ่และใบเล็ก

ใช่แล้วค่ะ Juli จะมาทำ intensive natural dye private workshops กับเรา โดยพักอยู่กับเรา 4 คืน 5 วัน เพื่อเรียนรู้และหาประสบการณ์ตรงเพิ่มเติมในงานผ้าย้อมสีธรรมชาติที่เธอสนใจ และเริ่มทำมาได้ประมาณ 1 ปี ทั้งด้วยการไปทำ workshops จากหลายที่และเรียนรู้ด้วยตนเอง

4 คืน 5 วันของ workshops ในครั้งนี้ เราออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามที่ Juli ต้องการ โดยเริ่มจากแม่สีน้ำเงินคือสีคราม ใน concept "from seed to dye" เราเริ่มตั้งแต่การเก็บใบห้อม (assam indigo) ซึ่งเป็นพืชให้สีครามท้องถิ่นของภาคเหนือ มาสกัดสีครามในรูปแบบของเนื้อครามเปียก (indigo paste) จากนั้นเราก่อหม้อคราม (making indigo dye vat) ด้วยสูตรของเรา ที่ใช้มะขามเปรี้ยวเป็น reducing agent หรือเรียกว่าเป็น tamarind vat ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณของไทย

Juli บอกว่าที่ประเทศโคลัมเบียก็มีต้นมะขาม ดังนั้นเธอจึงดีมากที่ Juli จะสามารถใช้สูตรเดียวกันนี้ได้ที่ประเทศของเธอ

หลังจากนั้น Juli ก็ย้อมผ้าและเสื้อผ้าสีขาวด้วยครามธรรมชาติที่เธอก่อหม้อเอง

ได้สีน้ำเงินที่ดูสว่างและสวยสดใสมาก ในจำนวนผ้าผืนและเสื้อผ้าสีขาวที่เธอเตรียมมาประมาณ 20 ชิ้น เธอได้ใช้ทั้งเทคนิคการทำลวดลายผ้า แบบ Shibori และ Tataki-zome

Juli ตั้งเป้าหมายในการทำงานในแต่ละวันอย่างดี เธอทำชิ้นงานของเธออย่างสร้างสรรค์และเธอรู้ดีว่าเธอชอบอะไรในสไตล์แบบไหน

ฉันประทับใจในการใช้เทคนิค Tataki -zome ที่ Juli ทำ Mandala จากใบห้อมสด (fresh assam indigo leaves) เธอมีความชำนาญในเทคนิคนี้ ทำให้ indigo Mandala ของเธอมีเสน่ห์ สวยงาม สมดุลย์ ทั้งสีครามจากใบห้อมสด ขนาดเล็กและใหญ่ของใบห้อมที่ถูกจัดวางอย่างสร้างสรรค์และมีจังหวะหนักและเบาอย่างสมดุลย์ ทำให้เกิดเป็นงานศิลปะ indigo Mandala ที่ดูแล้วเกิดความสุขสงบภายในใจอย่างน่าประทับใจ

หลังจาก focus กับสีครามแล้ว เราก็สกัดสีชมพูจากครั่ง (Lac) และสกัดสีเหลืองจากใบยูคาลิปตัส และขมิ้น สีชมพูและสีเหลืองจะเป็นการย้อมร้อน (hot dye)

เมื่อเรามี 3 แม่สีครบ คือ น้ำเงิน ชมพู และเหลือง Juli ก็สามารถสร้างสีอื่นด้วยการย้อมทับได้

Juli มีทักษะในการ paint ด้วย เธอจึงใช้เนื้อคราม (indigo paste) เพ้นท์บนกระดาษ ซึ่งให้โทนสีน้ำเงินบนสีขาวของกระดาษได้นุ่มนวล มีเสน่ห์และสวยงาม

ตลอดเกือบ 5 วันที่ Juli สนุกและ focus กับงานย้อมผ้าของเธอ เธอตั้งใจ กระตือรือล้นมาก มีพลัง และเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ วันเวลาดูเหมือนผ่านไปเร็วมาก

Juli ทำงานด้าน eco tourism เธอได้เดินทางไปหลากหลายประเทศ ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาที่เธอได้เริ่มสนใจและศึกษาเรื่องสีธรรมชาติ เพราะเธอรู้สึกถึงความมีเสน่ห์ของสีธรรมชาติ ที่connect โดยตรงกับธรรมชาติรอบๆตัว เธอต้องการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในเรื่องอื่นที่เธอสนใจ นอกเหนือจากงานประจำ เธอคิดจะสั่งสมทักษะนี้ไปเรื่อยๆ เพราะเชื่อว่าเธอจะสามารถทำงานนี้ได้อย่างมีความสุข สามรถใช้ประโยชน์จากทักษะนี้ได้ในอนาคต อาจจะเป็นการค่อยๆ เตรียม plan B เพื่อเพิ่มทางเลือกในการใช้ชีวิตในอนาคต โดยเริ่มจากสิ่งที่ตนเองสนใจ และเชื่อในคุณค่าของสิ่งนี้

เกือบ 5 วันที่เราใช้เวลาด้วยกัน แม้จะสั้นๆ แต่เราอยู่ด้วยกัน ทำงานที่ชอบด้วยกันตลอดวัน บางวัน Juli ทำงานย้อมผ้าของเธอถึงกลางคืน 2 ทุ่มครึ่ง อย่างสนุกและมีสมาธิ

ประสบการณ์ร่วมกันในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติเท่านั้น แต่เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติ และมุมมองการใช้ชีวิตในแง่มุมต่างๆ เป็นการพูดคุยในเรื่องธรรมดาๆแต่สร้างแรงบันดาลใจซึ่งกันและกัน

หลายเดือนที่ผ่านมา ลูกค้าที่มาทำ workshops กับฉันส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงในวัย 30+ จากหลายประเทศทั้งตะวันตกและตะวันออก ฉันรู้สึกว่าหญิงสาววัยนี้ในปัจจุบัน หลายคนตั้งคำถามกับตัวเองในมุมมองของทางเลือกในการใช้ชีวิต หลายคนใช้การท่องเที่ยวในที่ต่างๆ เพื่อพบปะผู้คนและหาประสบการณ์ใหม่ๆ ส่วนหนึ่งอาจจะเพื่ออยากมีอิสระในการออกแบบการใช้ชีวิตของตนเอง เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้ชีวิตในรูปแบบทั่วๆไป ที่ถูกกำหนดจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ โดยบางครั้งทำให้ลืมฟังเสียงเล็กๆจากภายในของตัวเอง การเดินทาง การพบปะผู้คนใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ หาประสบการณ์ใหม่ๆส่วนหนึ่งอาจจะเหมือนการได้ reset ตัวเอง

 ทำให้มีโอกาสได้ฟังเสียงจากภายในของตัวเองได้ดังมากขึ้น ฟังชัดเจนมากขึ้นก็เป็นไปได้

13 Mar 2024

ทริปท่องเที่ยวแบบ deep connect กับ ธรรมชาติ local lifestyle & crafts ของ Jeneil สาวงามจาก Chicago ที่เชียงดาว ประเทศไทย

Studio Chiangdao Blue ได้มีโอกาสแชร์เรื่องราวของครามธรรมชาติแบบ “From seed to dye”ให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ จาก @hinokitravels เราเริ่มทำความรู้จักตั้งแต่ต้นคราม เมล็ดคราม สกัดสีครามจากใบครามได้อย่างไร จากนั้นเราเริ่มทำความรู้จักกับสีครามธรรมชาติมากขึ้น โดยลองเพ้นท์รูปด้วย indigo paste ที่เราทำเองจากใบครามสด Jeneil เพ้นท์รูปของเธอเสร็จอย่างรวดเร็ว

จากกระดาษสีขาว ขนาด 12cm.x16cm. ด้วยภู่กันเล็กๆ ม้าตัวน้อยน่ารักสี indigo blue ที่ดูสงบเสงี่ยมก็ปรากฏบนกระดาษแผ่นเล็กๆนั้น ในทันทีที่ได้เห็นม้าน้อยตัวนี้ ฉันรู้สึกประทับใจกับพลังของสีน้ำเงินจากธรรมชาติ บวกกับภาพจากจินตนาการของ Jeneil แล้วรู้สึกว่า ความสุขความสงบในใจเกิดขึ้นได้จากสิ่งเล็กๆ2-3 สิ่งที่มาจับคู่กันอย่างเรียบง่ายและลงตัว เราอาจจะคุ้นเคยกับภาพเขียนจากหมึกจีนที่ได้อารมณ์จาก contrast ของสีขาวของกระดาษและสีดำของหมึก แต่เมื่อเป็นสีน้ำเงินจากครามธรรมชาติที่ตัดกับสีขาว กลับให้ความรู้สึกที่อบอุ่น อ่อนโยน สงบสุขอย่างน่าอัศจรรย์

ขอบคุณ Jeneil ที่สื่อสารแง่มุมใหม่ๆของพลังเยียวยาจากสีครามธรรมชาติให้แก่ฉัน

หลังจากวาดรูปด้วย indigo paste เสร็จ พวกเราก็ขยับมาทำลวดลายบนผืนผ้าด้วยเทคนิคโบราณของญี่ปุ่น คือ Shibori และ Ita-Jime (clamping) ในระหว่างนั้น Jeneil ถามว่าเธออยาก upcycle กางเกงสีขาวของเธอด้วยสีคราม จะได้ไหม ฉันตอบโดยทันทีว่า “ยินดีอย่างยิ่ง“ เพราะ Chiangdao Blue ก็สนับสนุนแนวคิดนี้อยู่แล้ว และตัวฉันเองก็ upcycle เสื้อผ้าเก่าด้วยการย้อมใหม่ด้วยสีธรรมชาติ เป็นปกติอยู่แล้ว Jeneil ผสมผสาน 2 เทคนิค เพื่อสร้างลวดลายเท่ห์ๆ ในโทนสี white & blue และมัน unique มาก เพราะคงจะไม่มีตัวที่ 2 ที่จะเหมือนกันจริงๆ

การท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์และ healing แบบนี้ น่าจะเป็นแนวทางที่ทั้งสนุก ได้สัมผัสกับธรรมชาติรอบตัวอย่างจริงใจและผ่อนคลาย และยังได้มีโอกาสแสดงความเป็นตัวเองอย่างสร้างสรรค์ผ่านงาน crafts และบางครั้งเราอาจจะได้ค้นพบมุมมองใหม่ ได้กลับมาทักทายกับศักยภาพดั้งเดิมที่ซ่อนอยู่ในตัวเองมาตั้งแต่เด็กๆ ก็เป็นได้

ขอบคุณ Jeneil และหวังว่าจะได้มีโอกาสได้แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน และมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ถ้ามีโอกาสได้เจอกันอีกที่เชียงดาว

9 Mar 2024

Embarking on a Personal Transformation Journey Through Passion-Driven Crafting

Last November, Studio Chiangdao Blue had the pleasure of sharing the art of natural fabric dyeing with Dea, a charming designer from the small, yet profoundly beautiful country of Georgia, a dream destination for many.

Dea, with her designer's eye, gravitates towards a "back to origin" style, embodying warmth and embrace through earth tones. Given her inclination towards warm, rather than cool colors, I introduced her to warm-toned dyes like the orange-brown from acacia catechu’s bark and the grayish-brown from ebony berries. These colors, derived from plants native to Thailand, suited her natural charm and fitted perfectly with the warm palette she adored.

During a brief lunch conversation, Dea expressed her enjoyment of choosing from a variety of delicious foods at affordable prices. She appreciated the rich yet simple life in Chiang Mai and expressed a desire to stay longer. It was a memorable image of Dea that stayed with me for those few hours.

Three months later, Dea messaged me briefly, "After traveling to various places over the past few months, I now feel the urge to work on my beloved fabric projects again."

Dea returned to Chiangdao Blue Studio to dye fabric in her style for the clothes she envisioned. Besides the colors from acacia catechu’s bark and ebony berries, she also experimented with light yellow from eucalyptus leaves, layering it with natural indigo to create a unique warm-toned shade. She fell in love with the color from ebony berries, achieving a natural black by layering two to three different dyes, with black which is one of her favorite colors.

My encounter with Dea at Chiangdao wasn't just about natural dyeing. I believe it was a slow, quiet conversation she had with her inner self, opening up opportunities for Dea's true essence to shine through as much as she desired.

I'm delighted and proud of the new steps and internal growth of this talented designer.

****************************************************************************

การเดินทางเพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเองผ่านการลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองมี passion


กลางเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว studio Chiangdao Blue ได้มีโอกาสได้แชร์เรื่องราวของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติกับ “Dea”สาวสวยจากจอร์เจีย ประเทศเล็กๆ ที่หลายๆคนอยากไปท่องเที่ยว

Dea เป็น designer เธอมีสไตล์ในแบบ back to origin ในโทนสี earth tone ที่อบอุ่นและโอบอุ้ม

สีที่เธอสนใจจึง เป็นสีที่ไม่ใช่โทนเย็นอย่างสีคราม ฉันจึงแนะนำสี warm tone. อย่างสีน้ำตาลอมส้มจากเปลือกของต้นสีเสียด (acacia catechu’s bark) และสีโทนน้ำตาลเทาจากลูกมะเกลือ (ebony berry) ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นพืชให้สีธรรมชาติดั้งเดิมของประเทศไทย เราใช้เวลาย้อมผ้าด้วยกันเพียงครึ่งวัน เธอมีความเป็นธรรมชาติที่มีสเน่ห์เฉพาะตัว ที่เหมาะกับโทนสีอบอุ่น

ระหว่างอาหารกลางวัน เราพูดคุยกันนิดหน่อย เธอสนุกกับการที่ได้เลือกกินอาหารอร่อยๆหลากหลายอย่างในราคาที่ไม่แพง เธอรู้สึกชอบการใช้ชีวิตที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่อุดมสมบูรณ์และเรียบง่าย

เธอรู้สึกอยากใช้ชีวิตที่นี่นานๆ นี่เป็นภาพที่ฉันจำ Dea ได้ในเวลา 2-3 ชั่วโมง

3 เดือนต่อมา Dea ส่งข้อความมาบอกฉันสั้นๆ ว่า “ฉันได้เดินทางท่องเที่ยวไปหลากหลายสถานที่ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้ฉันรู้สึกว่าตัวเองอยากทำงานเสื้อผ้่าที่ชอบอีกครั้ง”

Dea กลับมาที่เชียงดาวกลับมาย้อมผ้าที่ studio Chiangdao Blue ย้อมผ้าในแบบของเธอ สำหรับทำเสื้อผ้าที่ตามที่เธอคิดไว้

การกลับมาย้อมผ้าเพื่อทำเสื้อผ้าของตัวเองในครั้งนี้ นอกจากสีย้อมจากเปลือกของต้นสีเสียด และลูกมะเกลือแล้ว เธอได้ย้อมสีเหลืองอ่อนจากใบยูคาลิปตัส และเพิ่มเทคนิคการย้อมทับสีด้วยสีครามธรรมชาติเพื่อสร้างเฉดสีโทนอบอุ่นที่แปลกแตกต่างออกไป ในครั้งนี้เธอตกหลุมรักสีย้อมจากลูกมะเกลือ และเธอได้สีดำธรรมชาติจากการย้อมทับด้วยสีธรรมชาติ 2-3 สีย้อมทับกัน และสีดำก็เป็นสีโปรดสีหนึ่งของเธอ

ฉันรู้สึกว่าประสบการณ์กับสีธรรมชาติของท้องถิ่นที่เชียงดาวในครั้งนี้ของ Dea ไม่ใช่แค่การย้อมผ้าเท่านั้น ฉันเชื่อว่าเธอได้มีโอกาสได้พูดคุยกับตัวตนข้างในของเธออย่างช้าๆ และเงียบๆ เปิดโอกาสให้ตัวตนจริงๆ ของ Dea ได้มีโอกาสได้แสดงออกมากขึ้นเท่าที่เธอต้องการ

ฉันดีใจและภูมิใจกับก้าวใหม่ๆและการเติบโตภายในของ designer สาวสวยคนนี้

3 Mar 2024

A Blue Journey with Mr. Paul Sullivan: New Perspectives on Travel, Skills, and Local Crafts.

In mid-February, Studio Chiangdao Blue had the privilege of sharing the experience of natural indigo dyeing with Paul Sullivan, an artisan from the #MississippiSchoolofFolkArts.

Paul has a deep interest in local crafts. During the hours we spent dyeing together, I could sense Mr. Paul's focus on creativity and the joy and peace he found during the process. He combined two Japanese techniques, Shibori and Tatakizome (pounding), to create patterns on a large piece of fabric measuring 120 cm x 190 cm, adorned with delicate leaf patterns using the native strobilanthes cusia (indigo plant).

Paul chose fresh leaves directly from the indigo plant, gently hammering them to imprint the leaves' patterns and the indigo color from the fresh leaves onto the fabric. The result was a piece of work with a unique identity, distinguished by the deep blue shade that native indigo leaves yield, a shade more intense than other varieties. As we dyed, we also had the opportunity to talk, and I learned about Paul's weaving experiences in Laos. His travels for further craft experiences in countries like Thailand and Laos enrich his teaching of art and craftsmanship to children at the Mississippi School of Folk Arts.

I find this kind of travel, acquiring both skills and content, incredibly fascinating and highly inspirational. I, too, am eager for such an opportunity, particularly to learn more about Japanese indigo dyeing in Tokushima locating in the southern island of Shikoku, Japan, known for its long history of indigo cultivation and dyeing.

Thank you, Paul Sullivan, for providing inspiration and an intriguing perspective on so creative travel this time.

*****************************************************************************

เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา studio Chiangdao Blue ได้มีโอกาสแชร์ประสบการณ์การย้อมครามธรรมชาติกับ Mr.Paul Sullivan ผู้เป็น artisan ที่ #MississippiSchoolofFolkArts

Mr.Paul เป็นผู้ที่สนใจในงาน local crafts มาก หลายชั่วโมงที่เราย้อมครามด้วยกัน ฉันรู้สึกได้ว่า Mr.Paul มีสมาธิกับการคิดสร้างสรรค์งาน และทำงานด้วยความสุข ความสงบในจิตใจ (mindfulness) Mr.Paul ผสมผสาน 2 เทคนิคของญี่ปุ่นคือ Shibori และ Tatakizome (pounding) ในการสร้างลวดลายบนผ้าผืนใหญ่ขนาด 120 cm.x 190 cm. (ในรูปที่เป็นผ้าย้อมครามกับลวดลายใบไม้เล็กๆ)

Mr.Paul เลือกใบครามพื้นเมือง (strobilanthes cusia) เด็ดใบสดจากต้นคราม แลพใช้ค้อนไม้ค่อยๆ ทุบใบครามสร้างลวดลายของใบครามและสีครามจากใบสด ผลงานผ้าที่ได้จึงมีความเป็นเอกลักษณ์ที่พิเศษไม่เหมือนใคร ใบครามพื้นเมืองนี้ให้สีครามที่เข้มมากกว่าใบครามพันธุ์อื่นๆ ในขณะที่เราย้อมครามก็ได้มีโอกาสพูดคุยกัน จึงได้รู้ว่า Mr.Paul ได้ไปทอผ้าที่ประเทศลาวด้วย การมาท่องเที่ยวเพื่อหาประสบการณ์เกี่ยวกับงาน crafts เพิ่มเติมในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทยและประเทศลาว ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับการสอนศิลปะและหัตถกรรมให้แก่เด็กๆที่โรงเรียน Mississippi School of Folk Arts ได้ด้วย

ฉันคิดว่าการท่องเที่ยวต่างประเทศแบบได้ทั้งทักษะ (skills) และ content แบบนี้น่าสนใจและสามารถสร้างแรงบันดาลใจได้ดีมาก ฉันเองก็อยากหาโอกาสท่องเที่ยวแบบนี้เหมือนกัน ฉันอยากไปเรียนรู้เรื่อง การย้อมครามของญี่ปุ่น ที่ Tokushima ที่อยู่ในเกาะ shikoku ภาคใต้ของญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงเรื่องการปลูกครามและย้อมครามมาตั้งแต่โบราณ

ขอบคุณ Paul Sullivan ที่มาช่วยสร้างแรงบันดาลใจและให้มุมมองที่น่าสนใจในการท่องเที่ยวต่างประเทศ ให้แก่ฉันในครั้งนี้

16 Jan 2024

The Indigo Dye Pot of Studio Chiangdao Blue

At Studio Chiangdao Blue, we extract indigo paste from fresh indigo leaves, a process that yields a solid blue pigment which is insoluble in water. To dye fabrics, this blue pigment must be transformed into a water-soluble yellow form through a "reduction" reaction, a process known as making an indigo dye pot. When fabric or cellulose fibers are dipped into this yellow dye bath and then exposed to air, the yellow color is "oxidized" back into blue.

Indigo dyeing is a cold dye process; it doesn't require heat to bond the color to the fabric fibers. Repeated dyeing deepens the color intensity. Cellulose fibers like cotton, linen, hemp, and rayon are more receptive to indigo dyeing than protein fibers like silk or wool.

Our indigo dye pot at “Studio Chiangdao Blue” utilizes three natural ingredients:

1) Our homegrown and extracted indigo paste.

2) Alkaline water from limestone powder, to achieve the desired pH level.

3) Tamarind water, used as a "reducing agent."

We mix these three ingredients at an appropriate temperature to initiate the "reduction" reaction, turning the solid, water-insoluble blue indigo into a water-soluble yellow form. This method of creating a dye pot is known as a "tamarind vat."

The water we use for dyeing is well water, free from the chlorine and chemicals found in tap water. Instead of using chemicals to "fix" the natural dye, we repeatedly rinse the dyed fabrics to remove any excess color. This thorough washing ensures that the final indigo-dyed fabric is safe, comfortable, and reassuring to wear.

**********************************************************************************

หม้อครามของ studio Chiangdao Blue

ครามเปียก (indigo paste) ที่สกัดจากใบครามนั้น มีคุณสมบัติคือมีสีน้ำเงิน เป็นของแข็งและไม่สามารถละลายน้ำได้ จึงไม่สามารถย้อมผ้าได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนคุณสมบัติของครามสีน้ำเงิน ให้เป็นสีเหลืองที่เป็นของแข็งแต่สามารถละลายน้ำได้ โดยปฎิกริยา reduction เรียกว่าการก่อหม้อคราม (making indigo dye pot) น้ำครามสีน้ำเงินเมื่อเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้ว จึงสามารถนำผ้าหรือเส้นใยจากพืช ย้อมจากสีขาวให้เป็นสีน้ำเงินได้ หลักการการย้อมผ้าให้เป็นสีน้ำเงินคือ เมื่อจุ่มผ้าฝ้ายหรือเส้นใยฝ้ายลงในน้ำย้อมที่เป็นสีเหลือง เมื่อเอาขึ้นจากหม้อคราม ให้ผ้าหรือเส้นใยสัมผัสกับอ๊อกซิเจนในอากาศ สีเหลืองจะถูก oxidise ให้เปลี่ยนกลับเป็นสีน้ำเงิน

การย้อมครามเป็นการย้อมเย็น คือขณะย้อมไม่ต้องใช้ความร้อนช่วยผลักสีให้เข้าสู่เส้นใยของผ้า การย้อมซ้ำๆกันหลายๆครั้งจะทำให้สีครามเข้มมากขึ้นเรื่อยๆ

เส้นใยจากพืช เช่น ฝ้าย ลินิน ใยกัญชง (hemp) และเรยอน จะย้อมครามได้ง่ายกว่าเส้นใยโปรตีนจากสัตว์ เช่นผ้าไหม หรือผ้าขนสัตว์

หม้อคราม (indigo dye pot) ของ studio Chiangdao Blue ใช้วัตถุดิบ 3 ชนิดจากธรรมชาติ คือ

 1) เนื้อครามเปียก (indigo paste) ที่ปลูกเองและสกัดสีครามเอง คือ สีน้ำเงิน indigo

2) น้ำด่างจากหินปูน alkaline water from limestone powder เพื่อให้ได้ค่าความเป็นด่าง pH ที่ต้องการ

3) น้ำมะขามเปรี้ยว ใช้เป็น reducing agent

เราผสมวัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดเข้าด้วยกันในอุณหภูมิที่เหมาะสม ที่จะเกิดปฎิกริยา reduction เพื่อให้สีน้ำเงินที่เป็นของแข็งที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เปลี่ยนสภาพเป็นสีเหลิองซึ่งเป็นของแข็งที่สามารถละลายน้ำได้ เรียกการก่อหม้อครามแบบนี้ว่า "tamarind vat"

น้ำที่เราใช้ในการย้อมเป็นน้ำบ่อ จึงไม่มีคลอรีนหรือสารเคมีที่น้ำประปามี

เราไม่ใช้สารเคมีในการ fix สีธรรมชาติที่ย้อม แต่เราใช้การล้างน้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อไล่สีส่วนเกินออกไป ล้างผ้าจนน้ำใส ผ้าย้อมครามที่ได้จึงน่าใช้ ปลอดภัยและสบายใจที่จะสวมใส่

13 Jan 2024

Indigo Pigment Extraction: Crafting Color from Fresh Leaves at Studio Chiangdao Blue

At Studio Chiangdao Blue, we specialize in extracting indigo pigment from our own indigo plants, creating what is known in Thailand as indigo paste. The process begins by soaking fresh indigo leaves in well water for about 24 hours, a duration well-suited to our local climate. This soaking transforms the clear well water into an emerald blue-green hue. After this, the leaves are removed and repurposed as compost.

The next step is the aeration process. We introduce oxygen to the blue-green water, which causes the indigo molecules to bond with oxygen, turning the liquid into a deep indigo blue. The mixture is then left to settle overnight, allowing the indigo pigment to precipitate into a dense “indigo paste.” During aeration, we add about 2% of the weight of the harvested leaves in lime, which helps the indigo molecules bond more effectively with the lime and settle faster. Additionally, the lime ensures that the indigo paste remains alkaline, prolonging its shelf life.

There are several reasons why “Studio Chiangdao Blue” embraces the “from seed to dye” concept. The most significant is the control it gives us over the raw materials right from the start. We can choose the type of indigo plants we grow, each with its unique advantages. During the extraction process, we determine the optimal soaking time for the leaves in water. Over-fermentation can degrade the quality of the indigo color. We also decide the amount of lime to add during aeration, aiming for a minimum of about 2% by weight of the harvested leaves. Our goal is to achieve the most concentrated color in our indigo paste.

Furthermore, the “from seed to dye” approach has taught us about the natural cycle of indigo, from soil quality and water significance to the impact of seasons and natural disasters on indigo cultivation. It has reinforced our belief in organic farming, free from chemicals, and the importance of solving problems without harming the environment. It's a testament to our self-reliance, our ability to define and maintain the quality of our raw materials and production processes. These factors enable us to work with inner strength, contributing to both sustainable production and environmental conservation.

********************************************************************************

Indigo pigment extraction การสกัดสีครามจากใบครามสด


Studio Chiangdao Blue สกัดสีครามจากต้นครามที่ปลูกเอง โดยสกัดในรูปแบบของครามเปียก (indigo paste) ซึ่งในประเทศไทยจะนิยมทำกันแบบนี้

ขั้นตอนการสกัดสีคราม เริ่มจากแช่ใบครามในน้ำ เราใช้น้ำบ่อ (well water)

แช่นานประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นจำนวนชั่วโมงที่เหมาะกับอากาศของเมืองที่เราอยู่

สีจากใบครามจะออกมา น้ำบ่อจากน้ำใสจะกลายเป็นสีฟ้าอมเขียว จากนั้นจึงเอาใบครามออก นำใบครามนี้ไปทำปุ๋ยต่อไป

น้ำสีฟ้าอมเขียวที่ได้ จะเข้าสู่กระบวนการตีอากาศ (aeration) เพื่อให้ออกซิเจนรวมตัวกับสีฟ้าอมเขียวแล้วกลายเป็นสีน้ำเงินเข้มแบบสีคราม หลังจากนั้นจะพักน้ำนั้นไว้ 1 คืนเพื่อให้สีครามตกตะกอนเป็น indigo paste ในขณะที่เราตีอากาศนั้น เราจะใส่ปูนขาวประมาณ 2% ของน้ำหนักใบครามที่เกี่ยวมา ปูนขาวที่ใส่นี้ เพื่อช่วยให้โมเกุลของสีครามจับกับปูนขาวและตกตะกอนได้ง่ายและเร็วขึ้น นอกจากนั้นปูนขาวยังช่วยให้เนื้อครามเปียก (indigo paste) ที่ได้มีความเป็นด่าง จะได้สามารถเก็บครามเปียกนี้ไว้ใช้ได้นานๆ

มีหลายเหตุผลที่ studio Chiangdao Blue ย้อมผ้าครามด้วย concept “from seed to dye”

เหตุผลที่สำคัญที่สุดคือ ถ้าเราปลูกต้นครามเอง และทำครามเปียกได้เอง จะทำให้เราสามารถกำหนดสเปคของวัตถุดิบตั้งแต่ขั้นตอนแรก เราสามารถเลือกชนิดของต้นครามที่จะปลูกได้เอง

เราเลือกที่จะปลูกต้นครามหลายๆชนิด เพราะแต่ละชนิดก็จะมีข้อดีมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป

ส่วนในขั้นตอนการสกัดสีครามจากใบคราม เราสามารถกำหนดจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมในการแช่ใบครามในน้ำได้ การแช่ใบครามในน้ำนานเกินไป (over fermentation) จะทำให้คุณภาพของสีครามแย่ลง นอกจากนั้นเรายังเป็นผู้กำหนดปริมาณของปูนขาวที่จะใส่ในน้ำครามสีฟ้าอมเขียวในขั้นตอน aeration เองได้ โดยเราจะใส่ในปริมาณที่น้อยที่สุด คือประมาณ 2% ของน้ำหนักใบครามที่เก็บเกี่ยว เพราะเราต้องการเนื้อครามที่มีความเข้มข้นของสีครามใน indigo paste ให้มากที่สุด

นอกจากนั้นการย้อมผ้าครามแบบ “from seed to dye” ยังทำให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจ เรื่องราวของครามธรรมชาติตั้งแต่เรื่องของดิน ความสำคัญของน้ำ อิทธิพลของฤดูกาลและภัยธรรมชาติที่มีผลโดยตรงต่อการปลูกคราม ทำให้ได้รู้ว่าการปลูกพืชแบบ organic ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกนั้น เราต้องเชื่อมั่นในวิถีแบบเกษตรอินทรีย์ เราต้องมีความพยายามและต้องเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาต่างๆที่ไม่รบกวนหรือทำร้ายสิ่งแวดล้อม และเราเชื่อในหลักการของการที่เราสามารถพึ่งพาตนเองได้ เราสามารถกำหนดและรักษาคุณภาพของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตได้ด้วยตนเอง ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างเข้มแข็งจากภายใน และจะเกิดความยั่งยืนทั้งในเรื่องของการผลิตและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

หน้า:1 - 2 - 3
Studio Chiangdao Blue
การตั้งค่าคุกกี้
X
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)