ภาษาไทย
Studio Chiangdao Blue

Studio Chiangdao Blue

เมนู

Siripohn's Insights (Blog)

12 Nov 2024

การแลกเปลี่ยนเชิงสร้างสรรค์ที่ Studio Chiangdao Blue

วันนี้ ฉันมีโอกาสได้สนทนาอย่างลึกซึ้งกับนักออกแบบกราฟิกจากเยอรมนี เราได้พบจุดร่วมในการพูดคุยเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ด้วยแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทบทุกอุตสาหกรรม เทคโนโลยีได้ช่วยทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น และลดความยุ่งยากในการทำงาน มันช่วยแก้ปัญหา ลดอุปสรรค และเพิ่มผลผลิตได้อย่างชัดเจน

แต่ในฐานะมนุษย์ ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันซึ่งควรดำเนินควบคู่ไปกับเทคโนโลยี นั่นคือ ศิลปะและงานฝีมือดั้งเดิม ทักษะเหล่านี้ที่สืบทอดมาจากภูมิปัญญาโบราณสะท้อนถึงความเป็นมนุษย์ของเรา มันช่วยเตือนให้เราระลึกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม รากเหง้าที่หลากหลาย และมรดกอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งนำมาซึ่งความภาคภูมิใจและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

ในโลกที่คนหนุ่มสาวจำนวนมากทำงานใกล้ชิดกับเทคโนโลยีในแต่ละวัน การหาช่องทางในการสัมผัสงานฝีมือดั้งเดิมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยอนุรักษ์ทักษะอันล้ำค่า แต่ยังช่วยสร้างสมดุลให้กับจิตใจและจิตวิญญาณ ช่วยให้เรารู้สึกมั่นคงและเชื่อมโยงกับรากเหง้าของตนเอง

ฉันรู้สึกยินดีและได้รับแรงบันดาลใจจากการได้เชื่อมต่อกับผู้คนจากหลากหลายประเทศที่มารวมตัวกันที่ Studio Chiangdao Blue ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่สำหรับเวิร์กช็อปย้อมครามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความคิดและเรียนรู้จากกันและกัน ผ่านการถักทอเรื่องราวของชีวิตผ่านเลนส์ของครามธรรมชาติ

ฉันรู้สึกขอบคุณที่ Studio Chiangdao Blue มอบบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างความเชื่อมโยงที่มีความหมาย

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
11 Nov 2024

ประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

เมื่อวานนี้ หลังจากที่คุณแม่และลูกชายทำเวิร์กช็อปย้อมครามเสร็จคุณแม่ชาวอเมริกัน ก็ขอถ่ายรูปกับแม่ของฉันซึ่งมีอายุ 90 ปี ก่อนที่จะเดินทางกลับ บางทีอาจเป็นเพราะในระหว่างเวิร์กช็อป แม่ของฉันได้แสดงความขอบคุณจากใจจริงต่อพวกเขาที่ได้พยายามเช่ารถและเดินทางมาไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งใช้เวลารวมทั้งไปและกลับถึงสามชั่วโมง

ตลอดระยะเวลา 3-4 ชั่วโมงของเวิร์กช็อป แม่ของฉันก็ไม่อยู่นิ่ง เธอได้นั่งทำลวดลาย shibori บนผ้าของเธอ แม้จะมีอุปสรรคด้านภาษา แต่แม่ก็พยายามสื่อสารกับลูกค้าด้วยภาษาไทย ซึ่งลูกค้าก็รับรู้ถึงความอบอุ่นและการต้อนรับที่มาจากใจของแม่ หลังจากที่แม่ของฉันได้โชว์ลวดลายชิโบริที่แม่ออกแบบด้วยตนเอง ลูกชายก็ได้ชอบลวดลายของแม่และใช้เป็นแรงบันดาลใจในการทำลวดลายบนเสื้อยืดของเขาเอง

บรรยากาศในเวิร์กช็อปอบอุ่น ผ่อนคลาย และเป็นกันเอง เรามีแม่ มีตัวฉัน และมีลูกค้าคุณแม่และลูกชาย เหมือนมีคน 4 รุ่น คือวัย 10 40 60 และ 90 มาใช้เวลาด้วยกัน

หากคุณเป็นคนที่ชอบหาประสบการณ์ใหม่ๆ ชอบเรียนรู้ หรือชแบทำงานฝีมือ ฉันขอเชิญชวนให้มาสัมผัสประสบการณ์ workshops ย้อมครามในบรรยากาศส่วนตัว เป็นกันเองและได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติอันสวยงามของเชียงดาว

31 Oct 2024

ย้อมผ้าด้สยครามธรรมชาติ: ประสบการณ์ที่น่าจดจำสำหรับคุณและคนที่คุณรัก

ย้อมครามธรรมชาติเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์อันน่าประทับใจ เหมาะสำหรับการสร้างความทรงจำที่ไม่รู้ลืม นอกจากจะเป็นประสบการณ์ใหม่ที่น่าตื่นเต้นแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ และให้คุณได้สร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์และใช้งานได้จริงด้วยสองมือของคุณเอง

หลายวันก่อน คุณปลา นักบำบัดและครูสอนบำบัด ได้มาทำ workshops ย้อมครามเพื่อฉลองวันเกิดของเธอเอง เธอย้อมผ้าคลุมไหล่ผืนใหญ่และผ้าโพกหัว bandana ด้วยเทคนิคอิทา-จิเม (clamping) และยังคืนความสดใสให้กับเสื้อเก่าตัวโปรดด้วยเฉดสีครามใหม่อีกด้วย

ในแนวคิดคล้ายๆ กัน คู่รักจากสหรัฐอเมริกาคู่หนึ่งได้เลือกฉลองครบรอบแต่งงาน 50 ปี ด้วยการดื่มด่ำในกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ระหว่างทริปที่เชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในไฮไลต์ของการฉลองคือการได้สัมผัสกับศิลปะการย้อมครามกับเรา

สำหรับโอกาสพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นของคุณเองหรือกับคนที่คุณรัก กิจกรรมเหล่านี้มอบโอกาสอันมีคุณค่าในการเชื่อมโยงและสร้างสรรค์การทำชิ้นงานซึ่งเต็มไปด้วยความงดงามและความทรงจำที่น่าประทับใจ

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
30 Oct 2024

โครงการ "Young Local Entrepreneur"

โครงการ "Young Local Entrepreneur" :: Studio Chiangdao Blue ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน learning station ในโครงการการเรียนรู้ทั้งหมดที่จัดโดย Makampom Art Space กำลังจัดกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น โดยเน้นการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืน กิจกรรมนี้จะพาเยาวชนเรียนรู้ศิลปะการย้อมครามธรรมชาติในแนวคิด "From Seed to Dye" ซึ่งเป็นการเดินทางที่ Chiangdao Blue ได้บ่มเพาะมา

ในเวิร์กช็อปก่อนหน้านี้ เด็กๆ ได้มาสำรวจสตูดิโอย้อมคราม เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูก การสกัดสี การก่อหม้อครามด้วยสูตรธรรมชาติ และกระบวนการออกแบบและย้อมผ้าด้วยคราม พวกเขาได้สัมผัสประสบการณ์จากต้นกำเนิดครามในธรรมชาติสู่ผ้า และเมื่อได้ลงมือทำเองก็ทำให้พวกเขามีความเข้าใจในงานหัตถกรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิมอย่างลึกซึ้ง

ครั้งนี้ เราตื่นเต้นที่จะก้าวไปอีกขั้นกับกิจกรรมใหม่ “Young Local Entrepreneur” ซึ่งออกแบบมาสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป นอกจากการเรียนรู้การย้อมครามแล้ว นักเรียนยังจะได้รับการกระตุ้นให้ตั้งคำถาม สำรวจ และระดมความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้สามารถต่อยอดเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ อ่านแค่ตรงนี้ก็น่าสนใจ ตื่นเต้น และท้าทายมากแล้ว

ในฐานะที่ Studio Chiangdao Blue เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเชียงดาว เราไตร่ตรองอยู่เสมอว่าจะทำอะไรเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเยาวชนที่อยู่ในวัยแห่งการเรียนรู้ เราหวังที่จะมอบทักษะที่หลากหลายและเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้ค้นพบความชอบและจุดแข็งของตนเอง ผ่านการเดินทางนี้ พวกเขาจะค่อยๆ เห็นเส้นทางในอนาคตของตนเองและสร้างอนาคตในแบบที่ตนเองมีส่วนในการออกแบบ

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
7 Oct 2024

"นกยูง": นักเรียนฝึกงานช่วงโรงเรียนปิดเทอมที่เชียงดาวบลูสตูดิโอ"

ในการฝึกงานครั้งก่อน นกยูงได้ฝึกตัดกระดาษลายฉลุเพื่อนำไปใช้ในเทคนิคการทำลวดลายบนผ้าชื่อ Katazome และในช่วงปิดเทอมของเดือนตุลานี้ เธอจะได้เรียนรู้ศิลปะการทำลวดลายผ้าด้วยเทคนิคชิโบริและIta-Jime นกยูงเป็นเด็กสาวเชื้อสายไทใหญ่ที่พ่อแม่อพยพมาจากทางตอนเหนือของเมียนมา ตอนนี้เธออายุ 16 ปี กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนที่เชียงดาว

นกยูงเป็นเด็กหญิงที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจสูง เธอมีพรสวรรค์ด้านงานฝีมือที่ละเอียดและประณีต ทางสตูดิโอของเราชวนเธออีกครั้งให้มาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถรับงานพิเศษของสตูดิโอไปทำที่บ้านได้ เธอรู้สึกภูมิใจและตื่นเต้นที่จะสามารถหาเงินได้ด้วยตัวเอง และซื้อของใช้ส่วนตัวโดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่



ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
1 Oct 2024

Mindful Moments Through Hand-Drawn Expressions

บันทึกเรื่องราว moment ที่มีความหมายด้วยภาพในสไตล์ของเราเองด้วยมือของเรา ตามความรู้สึกที่พาไป ไม่ว่าจะเป็นรูปสเก๊ตง่ายๆ กับเนื้อหาสั้นๆ หรือ illustration ในขณะที่เรากำลังย้อนนึกถึง moment นั้นๆแล้วถ่ายทอดเนื้อหาและความรู้สึกออกมา ชั่วขณะนั้นผ่านมือของเราเองก็เป็นช่วง mindfulness ที่น่าประทับใจอีกแบบหนึ่ง ที่แตกต่างจากใน moment ที่เรากำลังทำกิจกรรม รูปที่เขียนไม่จำเป็นต้องสวย ความหมายอยู่ที่เราทำมันด้วยมือและความรู้สึกดีๆของเรา 

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
14 Sep 2024

Sakiori: ผ้าทอแนวรักษ์โลกที่ใครๆก็สามารถสร้างสรรค์และสนุกได้

ที่ Studio Chiangdao Blue มีการใช้เทคนิคการทอผ้าแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า "Sakiori" โดย "Saki" หมายถึงการตัดผ้าเป็นเส้นยาว ๆ กว้างประมาณ 1 ซม. และ "ori" หมายถึงการทอ สิ่งสำคัญของ Sakiori คือการนำเสื้อผ้าเก่าหรือเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้แล้ว ไม่ว่าจะขาดหรือมีรอยเปื้อน กลับมาใช้ใหม่แทนที่จะทิ้งไป เราจะตัดผ้าเป็นเส้นแล้วใช้เป็นเส้นพุ่งในการทอบนกี่ทอขนาดเล็กที่สามารถวางบนโต๊ะได้อย่างสะดวก เหมาะสำหรับเป็นงานอดิเรกที่ทำได้อย่างผ่อนคลาย

หน้ากว้างของผ้าที่ทอด้วยSakiori มักจะไม่เกิน 50 ซม. ผ้าที่ได้จะค่อนข้างหนาและมี texture ที่น่าสนใจ ซึ่งเหมาะสำหรับการสร้างสรรค์งานเรียบง่าย เช่น tote bag กระเป๋าเครื่องสำอางค์ tapestry หรือ table runner หนึ่งในความพิเศษของ Sakiori คือทุกคนสามารถทอได้ ไม่ว่าจะมีประสบการณ์หรือไม่ก็ตาม เพียงเลือกสีของผ้าที่ตัดเป็นเส้น แล้วทอเป็นเส้นแนวนอน เป็นวิธีที่สนุกและง่ายในการผสมผสานสีสัน ทำให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้ กิจกรรมนี้ช่วยผ่อนคลายและมีสมาธิขณะที่ลงมือทอ เมื่อทอเสร็จแล้วจะรู้สึกภาคภูมิใจในฝีมือของตัวเอง และเกิดความผูกพันกับผ้าทอผืนนั้น

Sakiori นำเสนอประสบการณ์ที่ให้คุณได้อยู่เงียบๆกับตัวเอง ชวนให้คุณได้ชะลอจังหวะชีวิตและใช้เวลากับตัวเองอย่างสงบสุข การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้อาจทำให้คุณมองสิ่งรอบตัวต่างออกไป เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างตัวเองกับโลก และค้นพบวิธีใหม่ ๆ ในการนำสิ่งที่คุณมีอยู่กลับมาใช้ใหม่และชื่นชมมันมากขึ้น

มาลองสัมผัสประสบการณ์ ทอผ้า Sakiori แล้วคุณอาจจะหลงรัก และอาจจะเปิดมุมมองใหม่ๆให้เราในเรื่องการใช้ประโยชน์สิ่งของต่าง ๆ ในชีวิต

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
13 Sep 2024

ให้งานcrafts ช่วยให้ผู้สูงอายุของคุณรู้สึกได้ถึงอิคิไง (ikigai)ในทุกๆกันกันเถอะ

เมื่อ 7 ปีที่แล้วฉันพาแม่ย้ายออกจากในตัวเมืองเชียงใหม่ มาฉันอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆในชนบทของอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ปีนี้แม่อายุ 90 ปีแล้ว แม่เป็นโรคกระดูกทำให้เดินเองไม่ค่อยได้ ต้องมีคนช่วยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากโรคกระดูก แม่ของฉันแข็งแรงเพราะไม่มีโรคความดันหรือเบาหวาน แม่เป็นคนกระฉับกระเฉง ความจำดีและมีนิสัยชอบหาอะไรทำตลอดเวลา เพราะถ้าอยู่เฉยๆ แม่จะฟุ้งซ่านและอารมณ์ไม่ดี แต่ถ้าแม่มีอะไรที่focus ได้ แม่จะสามารถจดจ่ออยู่กับกิจกรรมนั้นๆได้นานเป็น 2~3 ชั่วโมง

เนื่องจากฉันทำงานย้อมผ้าครามธรรมชาติ เมื่อ4~5 ปีก่อน จึงเริ่มลองให้แม่ทำกิจกรรมมัดย้อมผ้า bandana หรือ Furoshiki ในภาษาญี่ปุ่น ขนาดประมาณ 70x70 cm. เพื่อใช้สำหรับเป็น packaging ห่อเสื้อผ้าที่ลูกค้าของเราซื้อ จะได้ช่วยลดปริมาณขยะประเภทถุงใส่ของ และผ้านี้ลูกค้าสามารถเอาไปใช้ต่อได้

ตอนแรกๆ ฉันแนะนำเทคนิค shibori ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำลวดลายผ้าในสไตล์ญี่ปุ่น

แม่สามารถสนุกกับกิจกรรมมัดย้อม shibori ได้ไม่ยาก และสิ่งที่สำคัญที่แม่รู้สึก Wow! อย่างตื่นเต้นและมีความสุขคือ ขั้นตอนการแกะผ้าหลังจากย้อมเสร็จเพื่อดูลวดลายที่ตัวเองทำ สีหน้า รอยยิ้มและเสียงหัวเราะในแต่ละครั้งที่แม่แกะผ้า คือ magic moment ที่รู้สึกได้ว่า นั่นคือ sense of fulfillment ของแม่ในทุกๆครั้งที่ทำงานกับผ้า

ในระหว่าง 4~5 ปีที่แม่ทำมัดย้อมshibori เป็นงานอดิเรกมาเรื่อยๆ วันละ 1 ผืน บางวันก็ 2~3 ผืน หรือบางวันไม่ทำแล้วแต่อารมณ์ของแม่ สื่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อแม่เข้าใจว่าลวดลายบนผ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร แม่จะเริ่ม create ลวดลายใหม่ด้วยจินตนาการของตนเอง และเริ่มรู้ว่าต้องบิดผ้ายังไง ต้องรัดผ้าด้วยยางรัดของ ให้หลวมหรือแน่นแค่ไหนเพื่อให้ได้ลวดลายที่ต้องการ

จากประสบการณ์จริงที่ได้เห็นแม่ทำกิจกรรมมัดย้อมมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฉันรู้สึกประทับใจว่า กิจกรรมมัดย้อม shibori ช่วยให้แม่ของฉันมีสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่านคิดมาก และช่วยให้แม่รู้สึกได้ถึงอิคิไง (ikigai) ของตัวเองในทุกๆวัน

อยากแชร์ประสบการณ์นี้เพื่อเป็นข้อมูลทางเลือกให้ลูกๆที่ต้องดูแลพ่อแม่สูงวัย หรือหลานๆที่ต้องช่วยดูแลปู่ย่าตายาย หากิจกรรมที่เป็นงานทำมือง่ายๆ ที่ผู้สูงวัยสนใจ หรือพอมีทักษะอยู่บ้าง ให้ท่านได้สนุกและได้รู้สึกถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่ในทุกๆวัน

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
11 Sep 2024

Homegrown indigo paste

รูปโชว์ขั้นตอนการกรองด้วยผ้ากรองเนื้อละเอียด เพื่อเก็บ blue pigment ในสภาพของ indigo paste 

(ในรูปคือ indigo paste ที่สกัดจากใบครามพันธุ์ indigofera tinctoria)

ปกติเราใช้ indigo paste ทำ indigo dye pot โดยผสมกับน้ำด่างจาก limestone powder และน้ำมะขามเปรี้ยวในฐานะที่เป็น reducer ส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด คือ indigo paste น้ำด่างและน้ำมะขามในอุณหภูมิที่เหมาะสม จะทำให้เกิดปฎิกริยา reduction เปลี่ยนสภาพของครามสีน้ำเงินที่เป็นของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ ให้อยู่ในรูปที่สามารถละลายน้ำได้ในสภาพของเหลวสีเหลิอง

เมื่อจุ่มผ้าในน้ำย้อมสีเหลือง และเอาผ้าที่ย้อมออกจากหม้อย้อม สีเหลิองจะจับกับอ๊อกซิเจนในอากาศแล้วเปลี่ยนกลับคืนเป็นสีน้ำเงินซึ่งเป็นของแข็งที่ไม่ละลายน้ำในสภาพดั้งเดิมอีกครั้ง ในตอนนี้สีครามที่oxidise แล้ว จะถูกกักขังอยู่ภายในโครงสร้างของเส้นใยผ้า ซึ่งกระบวนการเหล่านี้คือ การย้อมผ้าด้วยสีคราม ความจริงแล้วสีครามมีคุณสมบัติติดสีได้ในระดับ "ดี" ในเส้นใยธรรมชาติประเภทเส้นใยcellulose เราจึงยังเห็นผ้าย้อมครามในสมัยโบราณเมื่อกว่า 1000 ปีที่แล้ว ที่ยังเห็นเป็นสีครามอยู่ จนถึงปัจจุบัน จุดอ่อนของผ้าย้อมครามคืออ่อนแอต่อการขัดสี สีครามจะถลอกได้เมื่อถูกขัดสีบ่อยๆ แต่ไม่น่าเชื่อว่าสีครามธรรมชาตินั้น แม้สีจะถลอกเพราะถูกขัดสี ก็จะดูสวยไปอีกแบบในแนว vintage blue คุณสมบัตินี้คือความพิเศษของสีครามจากธรรมชาติที่สีครามเคมีไม่สามารถเลียนแบบได้ 

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
10 Sep 2024

Painting with natural blue from plants

แม่สีน้ำเงินที่สกัดจากธรรมชาติ นอกจากหิน เช่น lapis lasuri ก็จะมีสีครามที่สกัดจากใบของต้นคราม ถือเป็นแหล่งสีน้ำเงินที่ได้จากต้นไม้ที่น่าสนใจมาก เพราะมีต้นไม้น้อยมากๆที่ให้สีน้ำเงิน วัฒนธรรมการย้อมครามธรรมชาตินั้นเป็นเสมือนของขวัญจากพระเจ้าที่มอบให้แก่ชาวโลกในทุกๆทวีป ไม่ว่าจะเป็นเอเซีย ยุโรป อาฟริกาหรืออเมริกาใต้ แต่ละภูมิภาคก็มีทักษะการย้อมครามที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นในการทำหม้อครามให้พร้อมสำหรับการย้อมผ้า สำหรับประเทศไทย ที่ Studio Chiangdao Blue เราปลูกคราม 4 ชนิดคือ indigofera tinctoria indigofera suffruticosa strobilanthes cusia (assam indigo)และ persicaria tinctoria (Japanese indigo) เพื่อสกัดสีครามจากใบคราม 

สำหรับใช้กับงานย้อมผ้าครามของเราเอง จุดประสงค์หลักที่เราใช้ concept "from seed to dye" เพราะต้องการทำ indigo paste ที่มีเปอร์เซ็นต์ของ blue pigment ที่สูงเท่าที่เราต้องการ และเราสามารถควบคุมคุณภาพของเนื้อครามด้วยการกรองด้วยผ้ากรองที่มีความละเอียดสูง เพื่อให้ได้เนื้อครามที่เนียน ละเอียดดีพอจนสามารถใช้ indigo paste กัยงาน painting บนกระดาษหรือบนผ้าได้ด้วย ลูกค้าที่มาทำ indigo dye workshops กับเรา และถ้าเรารู้ว่าลูกค้าชอบการ paint เราก็มักจะชวนให้ลูกค้า paint ด้วย homegrown indigo paste บนการดาษวาดรูปสีน้ำด้วย 

*รูปที่โชว์ คือผลงานของลูกค้าหญิงสองพี่น้องชาวอิสราเอล ทั้งสองคน paint ด้วยกันทำผลงานชิ้นนี้ด้วยกัน มันช่างสวยงามและน่าอัศจรรย์มาก 

หากคุณสนใจอยาก paint ด้วย indigo paste มาหาเราได้ เรายินดีต้อนรับค่ะ 

ชื่อของคุณ :
ความคิดเห็น :
5 Apr 2024

คำตอบและความเป็นไปได้ใหม่ๆส่วนหนึ่งอยู่ที่ภูมิปัญญาดั้งเดิม (local wisdom)

จากการที่ฉันได้มีโอกาสทำงาน project ระยะสั้นมาหลายปี เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้ร่วมทำงานกับช่างฝีมือท้องถิ่น นักศึกษาที่เรียนด้านการออกแบบ และนักออกแบบมืออาชีพทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่น ในแต่ละปีฉันได้เดินทางแบบ field trip ไปหลากหลายหมู่บ้านในหลายๆจังหวัด มีทั้งหมู่บ้านของคนท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนภูเขา (hill tribes) ทำให้มีโอกาสได้สัมผัสงานหัตถกรรมท้องถิ่นจากหลากหลายวัฒนธรรมย่อย (sub local cultures) ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติหลากหลายชนิด ทั้ง เส้นใย ผืนผ้า กระดาษ ไม้ไผ่ เซรามิคส์และอื่นๆ ทุกครั้งที่ได้ไป field trip จะรู้สึกทึ่งและชื่นชมในทักษะ ฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานมาจากการใช้ชีวิตและคุ้นเคยกับวัสดุธรรมชาติรอบๆตัว หลายๆทักษะที่เห็นจากช่างฝีมือชาติพันธุ์นั้นช่างเรียบง่ายแต่ใช้ประโยชน์ได้จริงโดยที่ไม่สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อม และไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมืออะไรที่ซับซ้อนเลย

มันเป็นภาพสะท้อนที่ทำให้คิดได้ว่า บางครั้งเทคนิคและฝีมือที่สั่งสมกันมาหลายชั่วคน ส่วนหนึ่งคือการรู้จักและเข้าใจในคุณสมบัติและจุดอ่อนจุดแข็งของวัสดุที่เราใช้อยู่ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูก และความสามารถในการสังเกตุ วิเคราะห์และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้น่าจะเป็นความสามารถดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วในมนุษย์ทุกคน

บางครั้งความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากจนเกินไป ในโลกที่มีทุกสิ่งทุกอย่างรอให้ซื้อมาด้วยเงิน อาจบั่นทอนศักยภาพดั้งเดิมเหล่านี้ในคนยุคนี้ก็เป็นได้

การที่จะได้มีโอกาสกลับมาเปิดสวิชท์ศักยภาพดั้งเดิมในตัวของเรา เป็นอะไรที่น่าสนใจ สนุกและท้าทาย เพราะความสามารถดั้งเดิมเหล่านี้ สามารถเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่อง "ความหมายและคุณค่า" ในการใช้ชีวิต

ในระยะหลัง เรามักจะได้ยินผู้คนพูดถึง แนวความคิดของญี่ปุ่นเรื่อง "Iki-gai" และพยายามที่จะเข้าใจ "ความหมายของการมีชีวิตอยู่" โดยส่วนตัวฉันคิดว่าความเข้าใจจากการอ่านเรื่องเหล่านี้ในหนังสือนั้นก็ดี และจะดียิ่งขึ้นถ้าเราสามารถเข้าใจ "Iki-gai" ได้จากความรู้สึกผ่านการทำกิจกรรมเล็กๆ ที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำสวน ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ทำงานศิลปะ หรืองานเย็บปักถักร้อยต่างๆ พราะในการทำกิจกรรมจะมีกระบวนการทำงาน (process) ที่เราสามารถมีประสบการณ์ตรงกับ process ได้อย่างมีสมาธิ ได้ใช้ตา หู และสองมือของเราไปพร้อมๆกับความคิดสร้างสรรค์ ในหลายๆครั้ง เราจะสนุกกับ process จนรู้สึกว่าได้ค้นพบช่วงเวลาแห่งความสุขและความหมายของการใช้ชีวิตผ่านโมเม้นท์เล็กๆ เหล่านี้

การพาตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมเดิมๆ ที่คุ้นเคย มาหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ มาใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เราเลือกเอง อาจทำให้เราได้ค้นพบความเป็นไปได้และศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา อาจจะเป็นศักยภาพที่เป็นคำตอบสำหรับคำถามเกี่ยวกับชีวิต ที่เราชอบถามตัวเองบ่อยๆ ก็เป็นได้

27 Mar 2024

พร้อมที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ creative travelling ด้วยกันกับคุณในกิจกรรมแบบ private workshops "from seed to dye, natural indigo

ท่องเที่ยวในเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ ได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เชื่อมโยงกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด

ฉันเริ่มสนใจแนวคิด Creative tourism ส่วนหนึ่งจากการอ่านบทความ "Introducing Creative Tourism: what is it & why is it valuable for community empowerment" เขียนโดย Viktoria Petrova

ฉันสะดุดใจกับคำสอนของขงจื๊อที่ผู้เขียนยกขึ้นมาก่อนเข้าสู่เนื้อหาของบทความ ....

"I hear and I forget, I see and I remember, I do and I understand"

Confucius

ในฐานะที่ฉันเป็น indigo farmer & natural dyer ที่เพิ่งย้ายจากในตัวเมืองเชียงใหม่ มาอาศัยอยู่ในชนบทของอำเภอเชียงดาว ได้เพียง 5-6 ปี ฉันจึงยังจดจำความรู้สึกที่ทั้งตื่นเต้นและท้าทายกับ lifestyle แบบสังคมชนบท สังคมเกษตรกรรม ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ทุกอย่างรอบตัวดูสดใหม่ แปลกหูแปลกตาไปหมด การได้เห็นต้นไม้ ดอกไม้ ธรรมชาติรอบตัวอย่างใกล้ชิด การได้ยินเสียงของลม เสียงนกและแมลงต่างๆ ร้อง การได้เห็นทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในทุกๆวัน ทำให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวและจังหวะของชีวิต ผ่านสิ่งแวดล้อมรอบตัว เหมือนเป็นการปลุก 5 sensory ของตัวเองให้กลับมา active มากขึ้น การที่สามารถสังเกตุสิ่งต่างๆรอบตัวได้ในจังหวะที่ช้าลง ทำให้เริ่มมองเห็นความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และมองเห็นความเป็นไปได้และศักยภาพอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ

ในตอนแรกที่เริ่มทำ studio เพื่อย้อมผ้าด้วยครามและสีธรรมชาติจากส่วนต่างๆของต้นไม้ ยังไม่เคยคิดว่าจะปลูกต้นครามเอง แต่พอมาอยู่ และได้ลงมือทำ จึงเกิดความเข้าใจและมองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆ ตามมาอีกหลายอย่าง การใช้ชีวิตในแต่ละวันมีความหมายและมีคุณค่ามาก รู้สึกสนุกกับการบริหารเวลาในแต่ละวัน ตั้งใจจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของงานในแต่ละวัน เพราะพบว่ามีกิจกรรมที่น่าสนใจและอยากทำเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการสังเกตุเห็นวัตถุดิบหลากหลายที่มีอยู่ในธรามชาติรอบตัว และวัตถุดิบจากธรรมชาติเหล่านั้นจุดประกายให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้เราอยากเรียนรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

รู้สึกเซลล์สมองและเซลล์ต่างๆในร่างกายตื่นตัวเหมือนเต้นระบำอยู่ตลอดเวลา

มันช่างแตกต่างกับตอนที่ใช้ชีวิตในเมือง ที่พออยู่อย่างนั้นนานหลายปี ทำให้รู้สึกเคยชิน รู้สึกเบื่อ และหลายครั้งรู้สึกขี้เกียจ ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา

5-6 ปีที่อยู่ที่เชียงดาว รู้สึกสนุกและท้าทาย แต่ก็มีความสุขสงบภายในใจไปด้วยพร้อมๆกัน เข้าใจมากขึ้นถึงคำว่า "ความหมายและคุณค่าของชีวิต" ในมุมมองที่แตกต่างจากเดิม

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จากการทำ workshops ย้อมครามธรรมชาติ ได้รู้จักและทำกิจกรรมร่วมกับผู้คนจากหลากหลายประเทศ ที่เดินทางมาหาประสบการณ์เรื่องการย้อมครามที่ studio Chiangdao Blue ฉันจึงได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนจากหลายประเทศ ทั้งชายและหญิง ในวัยต่างๆตั้งแต่เด็กๆจนถึงผู้สูงอายุในวัย 70 ปี ได้เห็นพวกเขาสนุก ตื่นเต้น มีความสุข และความภาคภูมิใจในผลงาน handmade ที่ทำด้วยตัวเอง มีทั้งทำให้ตัวเองใช้เอง และทำเพื่อเป็นของขวัญให้คนที่รัก มันช่างเป็นประสบการณ์ที่พิเศษที่น่าจดจำจริงๆ และสำหรับผู้รับก็เช่นกัน เช่น ถ้าลูกทำให้แม่ หรือภรรยาทำให้สามี

ก็แน่นอนว่า ของขวัญ handmade ชิ้นนี้ จะมีคุณค่าพิเศษทางใจต่อผู้รับอย่างแน่นอน

ฉันเชื่อว่า แนวคิด creative tourism สามารถตอบโจทย์การท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ในเชิงลึก เน้นกลุ่มเล็กๆแบบส่วนตัว เพื่อให้ผู้คนใช้เวลาสร้างประสบการณ์พิเศษที่ได้ทั้งการเรียนรู้ ได้ทักษะในเชิง local crafts และได้เชื่อมโยงกับผู้คนรวมถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นด้วย

"..... I see and I remember, I do and I understand"

Studio Chiangdao Blue พร้อมที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ creative travelling ด้วยกันกับคุณในกิจกรรมแบบ private workshops "from seed to dye, natural indigo dye"

24 Mar 2024

ปล่อยให้หญิงสาวได้สนุกกับจินตนาการและสีครามของเธอกันเถอะ

เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา Studio Chiangdao Blue ได้ต้อนรับคุณตาและหลานสาวจาก USA ฉันรู้สึกดีใจที่ studio ของเราเป็นสถานที่ ที่เพื่อนฝูง คู่รัก เด็กๆ นักออกแบบ และครอบครัว สามารถมาใช้เวลาด้วยกัน มาหาประสบการณ์ใหม่ ได้เรียนรู้ และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ได้สนุกกับงาน handmade และได้สัมผัสกับเสน่ห์ของสีครามจากธรรมชาติ

วันนี้ก็เป็นโอกาสพิเศษอีกวันหนึ่ง ที่ทั้งคุณตาและหลานสาววัยมัธยมปลาย ได้ใช้เวลาทำงาน crafts ด้วยกันในบรรยากาศส่วนตัว

หลังจากฉันได้แนะนำต้นคราม เมล็ดครามและเรื่องการย้อมครามเสร็จแล้ว จึงเริ่มแนะนำเทคนิคการทำลวดลายบนผ้า ทั้งคู่จะเลือกที่จะย้อมผ้า bandana และ big scarf เด็กสาวของเราพูดน้อยแต่ดูสนใจมาก ผ้า bandana ผืนแรก เธอก็ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานเกือบทุกเทคนิคของ shibori บนผ้าผืนเล็กๆ ผืนเดียว เธอทำออกมาได้สวยงาม สมดุลย์และ creative มาก หลังจากทานข้าวกลางวัน เธอก็เริ่มลงมือทำผ้าพันคอผืนใหญ่ที่ดูเหมือนว่า เธอมี image ของลวดลายผ้า และเทคนิคที่จะใช้ไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับผืนที่ 2 นี้ เห็นได้ชัดว่าเธอรู้สึกคล่องแคล่ว ผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นตัวของตัวเอง และเริ่มประยุกต์ใช้เทคนิคการทำลวดลายในสไตลฺของเธอเองอย่างมีสมาธิมาก คุณตาบอกว่าหลานสาวชอบทำงาน handmade มาตั้งแต่เด็กๆ เธอทำเครื่องประดับเอง และบางครั้งก็ตัดเสื้อผ้าใส่เองด้วย ฉันจึงไม่แปลกใจเลย ที่เธอดูมีสมาธิและจมดิ่งอยู่ในโลกของเธอจริงๆ จนฉันพูดล้อเล่นกับคุณตาของเธอว่า เธอสนุกอยู่ในโลกของเธอแล้ว เธอสนุกกับการทำลสดลายบนผ้าด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้ลวดลายตามที่เธอจินตนาการไว้ และก็เป็นอย่างที่ฉันคาดคิด ผลงานของเธอมีเอกลักษณ์ที่จะไม่เหมือนใคร เป็นผลงานชิ้นเดียวในโลกจริงๆ คุณตาดูมีความสุขมากที่สามารถจัดกิจกรรมที่หลานสาวชอบแลพสนุกที่จะทำ

ฉันรู้สึกประทับใจในความเป็นสมาธิ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการประยุกต์เทคนิคที่เพิ่งเรียนรู้มาใช้กับชิ้นงานของเธอได้ทันทีและอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ตระหนักมากขึ้นว่า เด็กหรือเยาวชนทุกคนมีศักยภาพ ความสนใจ และความถนัดอยู่ตัวของแต่ละคนอยู่แล้ว

ถ้าเขาหรือเธอได้ค้นพบและได้มีโอกาสฝึกฝนอย่างจริงจัง พวกเขาจะสามารถเปล่งประกายพลังความสามารถออกมาได้อย่างที่ผู้ใหญ่อย่างเราคิดไม่ถึงเลย

ขอบคุณคุณตาผู้น่ารักและหญิงสาวคนเก่งของเรา ที่มาเปล่งประกายโชว์พลังความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ให้พวกเราได้เห็นที่นี่ ที่เชียงดาว

23 Mar 2024

Let’s Upcycle our beloved pieces

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา studio Chiangdao Blue ชวนเพื่อนรุ่นน้องที่ชอบแนวคิดแบบ eco friendly มาย้อมเสื้อผ้าเก่าตัวที่อาจจะสีซีดจางแล้ว หรือเป็นเสื้อผ้าที่มีรอยเลอะเปรอะเปื้อนซึ่งอาจจะต้องทิ้งไป ทั้งๆที่ยังชอบเสื้อพวกนี้อยู่

ฉันชวนให้เพื่อนรุ่นน้องเลือกเสื้อผ้าสีขาวหรือสีอ่อนๆ ที่เป็นเส้นใยธรรมชาติจากพืช เช่น ฝ้าย ลินิน หรือเรยอน เสื้อตัวที่ยังชอบ นำมาทำลวดลายต่างๆ ตามใจชอบ และย้อมด้วยสีครามธรรมชาติ

การย้อมเสื้อผ้าซึ่งเป็น 3 มิตินั้น จะยากกว่าการย้อมผ้าผืนที่เป็น 2 มิติ ดังนั้น ก่อนทำการย้อมเสื้อ เราจะได้สนุกกับการคิดหารูปแบบและลวดลายที่น่าจะเข้ากันได้ดีกับแบบเสื้อแต่ละตัว และต้องคิดเผื่อไปถึงการย้อมด้วย ว่าจะสามารถย้อมได้สีครามที่สม่ำเสมอสวยงามอย่างที่ต้องการ

ขั้นตอนการคิดและทำลวดลายให้เสื้อแต่ละตัวจึงสนุกและท้าทายว่า จะสามารถเลือกเทคนิคการทำลวดลายที่เรียบง่ายและเหมาะสม และย้อมได้สวยใกล้เคียงกับที่ตัวเองคิดไว้ได้มากน้อยขนาดไหน

หลังจากฉันอธิบายเรื่องราวของต้นคราม เมล็ดครามและกระบวนการสกัดสีครามและย้อมครามให้ทุกคนได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้น เราจึงเริ่มทำกิจกรรมหลักคือการย้อมคราม แต่เนื่องจากหลายคนยังไม่เคยย้อมผ้าด้วยครามมาก่อน เราจึงเริ่มด้วยการย้อมผ้าผืนเล็ก bandana เป็นการ warm up กันก่อน ด้วยเทคนิค Ita-jime. และ shibori แบบง่ายๆ จากนั้นจึงขยับไปย้อมเสื้อผ้า ในครั้งนี้มีทั้งเสื้อยืดเก่า เสื้อเชิ๊ตแขนยาว เสื้อแขนกุด กระเป๋าผ้า และอื่นๆ หลังจากฉันแนะนำการทำลวดลายเสื้อเพิ่มเติม ทุกคนก็เริ่มจินตนาการว่าเสื้อแต่ละตัวที่เอามาย้อม น่าจะออกมาเป็นเสื้อใหม่ในแบบไหนดี

เราใช้เวลาในการย้อม Upcycle เสื้อผ้าเก่า นานประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ก็สามารถย้อมเสื้อเก่าได้คนละ 2 ตัวและผ้า bandanna คนละ 1 ผืน พร้อมทั้งได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในการมีส่วนร่วมเพิ่มคุณค่าให้เสื้อผ้าเก่าของตัวเอง ด้วยความคิดสร้างสรรค์และด้วยมือทั้งสองของตัวเอง

ฉันเชื่อว่าแต่ละคนน่าจะมีความทรงจำที่น่าประทับใจกับเสื้อแต่ละตัวที่นำมา Upcycle ในวันนั้นกันแน่นอน

การที่เราสามารถมีประสบการณ์ร่วมในการผลิตของที่เราใช้เอง เป็นเรื่องที่ท้าทายและน่าสนใจ เพราะจากจุดนั้นจะเปิดโอกาสให้เราเริ่มมีอิสระที่จะเลือก และได้รับรู้กระบวนการผลิตของชิ้นที่เราจะเป็นผู้ใช้ ด้วยประสบการณ์ตรงจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเราเอง

จากประสบการณ์ตรงเล็กๆในครั้งนี้ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราตั้งคำถามบางคำถามในประเด็น

ของ “สิ่งของ”VS ”คุณภาพชีวิต“ จากมุมมองของฉันเอง ฉันคิดว่า การใช้ชีวิตจะสนุกและท้าทายมากกว่าถ้าตัวเราได้มีส่วนร่วมในการคิด การออกแบบและการได้ลงมือทำในบางกระบวนการของการผลิตสิ่งของ บางครั้งการที่ตัวเองได้เป็นแค่สถานะ ”ผู้ใช้ของ“ ก็ดูน่าเบื่อและดูเหมือนต้องยึดติดกับการซื้อของที่ต้องใช้เงินแลกเปลี่ยน ในบางกรณีเราสามารถใช้ระบบ”ของแลกของ” barter system ในชีวิตประจำวันได้ วิธีการนี้ดูสร้างสรรค์ เป็นมิตร และมีเสน่ห์ในแง่ของการผูกพันและพึ่งพากันของผู้คน

ขอบคุณเพื่อนรุ่นน้องที่มาสนุกกับกิจกรรมนำร่องเล็กๆ ใน concept “Upcycle” ในครั้งนี้

และอยากให้กิจกรรมแบบนี้แพร่หลายในหมู่คนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น เพราะอย่างน้อยเราก็สามารถเป็นคนหนึ่งที่จะไม่เพิ่มปริมาณขยะของเสื้อผ้าเก่า ที่กำลังเป็นปัญหาในการกำจัดอยู่ในขณะนี้

หน้า:1 - 2 - 3
Studio Chiangdao Blue
การตั้งค่าคุกกี้
X
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)